logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กม.มะเร็งดูบทเรียนพรบ.คุ้มครอง

Link : http://www.thaipost.net/news/020810/25607

  ผอ.สถาบันมะเร็งฯ รับร่างกฎหมายมะเร็งอยู่ในขั้นทำประชาพิจารณ์ ปลายปีน่าจะเห็นเป็นรูปเป็นร่างได้ รับนำบทเรียนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจนหมอลุกมาแต่งดำ เป็นต้นแบบชี้แนวโน้มคนไทยเป็นมะเร็งสูงขึ้น ฝันผุดกรรมการนโยบายมะเร็งแห่งชาติ ให้นายกฯ เป็นประธาน
     นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ได้มีการทำการกึ่งประชาพิจารณ์ของคณะกรรมการศึกษาร่าง พ.ร.บ.มะเร็งแห่งชาติ โดยมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชนมาร่วมรับฟังความคิดเห็น โดยได้นำเสนอฉบับร่างกฎหมายและข้อมูลสถานการณ์โรคมะเร็งที่ขณะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้น และเป็นอัตราการตายมากที่สุดของคนไทยปัจจุบัน แต่ขณะนี้สถาบันมะเร็งแห่งชาติทำหน้าที่ได้เพียงรักษา ไม่มีอำนาจวางนโยบายเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งอยู่ในระบบ ขาดกำลังคน สถานที่คับแคบ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราอยากให้ขนาดใหญ่โต แต่การวางนโยบายเรื่องนี้น่าจะอยู่ในรูปของคณะกรรมการนโยบายมะเร็งแห่งชาติ โดยโครงสร้างของคณะกรรมการเบื้องต้นมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธาน และรองประธานซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการต่อเนื่อง แม้ว่าการเมืองจะเปลี่ยนผัน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่เข้าร่วมฟังการทำกึ่งประชาพิจารณ์ครั้งนั้นเห็นด้วยว่าควรจะมีกฎหมายฉบับนี้ เพราะทุกวันนี้มะเร็งเป็นเรื่องใกล้ตัว แทบไม่มีใครหรือครอบครัวไหนไม่เป็นมะเร็ง แต่ต้องทำให้รอบคอบ ยิ่งได้เห็นปัญหาของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขฯ ที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ การจะยกร่างกฎหมายใดก็ยิ่งต้องใช้เวลาและความรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง
     นพ.ธีรวุฒิกล่าวว่า การร่าง พ.ร.บ. มะเร็งฯ นำต้นแบบมาจากร่างกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบางข้อระบุว่าประชาชนต้องเป็นผู้คัดกรองมะเร็ง เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่ใช่ปล่อยไม่ดูแลสุขภาพเป็นมะเร็งแล้วให้รัฐมาดูแลรักษากลายเป็นภาระของรัฐ ซึ่งยังถูกติงว่าเป็นเหมือนการบังคับ นอกจากนี้มีการเขียนถึงสิทธิของผู้ให้บริการ ซึ่งภาคประชาชนยังมองว่า ไม่มีการเขียนสิทธิของผู้ป่วยให้มากกว่านี้ แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังมีอีกหลายขั้นตอนนำไปสู่การทำประชาพิจารณ์ ซึ่งคาดว่าปลายปีนี้อาจมีฉบับร่างได้ แต่คงนำเสนอสมัยประชุมสภานี้.

2 สิงหาคม 2553

Next post > METHODS FOR COST-EFFECTIVENESS ANALYSIS: AN ADVANCED WORKSHOP

< Previous post การประชุม โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด