logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
การประชุมระดมสมองเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการในสถาบันผลิตแพทย์  “การใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างสมเหตุสมผล”

การประชุมระดมสมองเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการในสถาบันผลิตแพทย์
“การใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างสมเหตุสมผล”

       เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2553 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) จัดการประชุมระดมสมองเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการในสถาบันผลิตแพทย์เรื่อง “การใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างสมเหตุผล” ณ ห้อง Sapphire 1 โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี

สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้มาจากหลายๆ หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า, สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามม วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล, คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข อุบลราชธานี, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การประชุมในช่วงเช้าได้แบ่งการแสดงความคิดเห็นเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 อภิปรายใน 3 หัวข้อ คือ  การใช้ยา  การใช้เทคโนโลยี และการใช้หัตถการ กลุ่มที่ 2 อภิปรายใน 4 หัวข้อ ได้แก่ ความรู้ การนำไปใช้ การบริหาร และงานวิจัย และกลุ่มที่ 3 อภิปรายใน 4 หัวข้อ คือ การรับรองมาตรฐานของยา, การกำกับนักศึกษาแพทย์, การกำกับโดยการขึ้นทะเบียนยา และความสัมพันธ์ของแพทย์และบริษัทยา
การประชุมช่วงบ่ายที่ประชุมร่วมกับอภิปรายในหลายๆ ประเด็นซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้

ต้องการให้วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากประชาชนอย่างเป็นธรรม เพราะการที่ประชาชนต้องการใช้ยา Original เพราะแพทย์เป็นคนแนะนำผู้ป่วยเอง โดยการบอกผู้ป่วยว่ายา original ดีกว่า ดังนั้นประชาชนควรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องยา generic หรือ local made ว่ามีคุณภาพดีเท่าๆ กับยา original โดยมี evidence-based ที่มีการประเมินผล ติดตามคุณภาพมายืนยัน และควรสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ข้อมูลกับประชาชนโดยใช้สื่อ แต่ต้องมีมาตรการป้องกันการโฆษณาชวนเชื่อของสื่อด้วย

ต้องการให้มีกรอบออกมาควบคุมบริษัทยาในการเข้าถึงตัวผู้ป่วย การขอข้อมูลเรื่องที่อยู่ ประวัติต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานาน โดยบริษัทเหล่านี้มักให้แพทย์มาให้ความรู้โดยมีบริษัทยาเป็นผู้สนับสนุน  จึงควรส่งเสริมการมีจริยธรรมกับผู้ให้บริการ ยาควรถูกใช้อย่างเหมาะสมโดยไม่ต้องมีการโฆษณา

ต้องมีการกำหนดกรอบการจ่ายยาของแพทย์และเภสัชกร ชี้แจงให้บุคคลเหล่านี้รู้ว่าการจ่ายยาอย่างสมเหตุสมผลคืออะไร โดยอาจออกกฎหมายมากำกับทุกๆ ฝ่าย วิธีที่ดีที่สุดคือการนำมาตรการทางการเงินมาบังคับ

ต้องการให้มีการทำงานเป็นระบบเป็นขั้นตอน กำกับไม่ให้ยาที่ไม่มีคุณภาพและไม่มีมาตรฐานได้ขึ้นทะเบียนยา
ต้องการให้กรมบัญชีกลางมีการทำงานร่วมกับ Specialist ในการปรับบัญชียา ให้มีความทันสมัยทันกับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เป็นระยะๆ   โรงเรียนแพทย์ควรคัดกรองคนที่จะเข้าไปเป็นคณะกรรมการในคณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ

ควรนำเรื่องการใช้ยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างเหมาะสมเข้าไปในหลักสูตรของนักศึกษาแพทย์ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นกำหนดเป็นวิชาใหม่ โดยไปเพิ่มเข้าในส่วนเดิมที่มีอยู่แล้ว และตรวจสอบว่าโรงเรียนแพทย์ทำอะไรไปบ้างแล้วและควรเสริมอะไร เพื่อชี้ให้เห็นว่าเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ควรมีการปรับปรุงทักษะการสอนและเน้นให้อาจารย์แพทย์เข้าใจเรื่อง Effectiveness, cost-effectiveness and utility มากขึ้นเพื่อจะได้รู้ว่าจะสอนนักศึกษาแพทย์อย่างไร และอาจารย์แพทย์ต้องเป็น role model ที่ดี เพราะการจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่นักศึกษาแพทย์ได้ ต้องเริ่มปรับที่ตัวอาจารย์แพทย์ก่อน นอกจากนี้อยากให้กระทรวงศึกษาธิการเข้ามามีบทบาทในการกำหนดหลักสูตร

HITAP อาจจะทำหลักสูตรขึ้นมาเพื่อเป็นการแนะนำอาจารย์แพทย์และนักศึกษาแพทย์ให้รู้จักเรื่อง health economic มากขึ้น และควรมีบทบาทในการเข้าไปคุยกับ อย.ในเรื่องการประเมินยา generic และอยากให้มีองค์กรที่มีคุณภาพออกมาทำงานวิจัยประเมินและติดตามการประเมินอยู่เรื่อยๆ อีกทั้งควรร่วมมือทำงานกับองค์กรหรือสมาคมต่างๆ มากขึ้น

29 เมษายน 2553

Next post > โครงการศึกษาเพื่อการสร้างรูปแบบการให้บริการด้านสุขภาพในแม่และเด็ก ประเทศสหภาพพม่า

< Previous post ขอเชิญร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “จากงานประจำสู่งานวิจัย“ ครั้งที่ 3 วันที่ 14-16 กรกฎาคม 2553

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด