logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ประชุมผู้เชี่ยวชาญในโครงการ “การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของวัคซีนนิวโมคอคคอลคอนจูเกต”

ประชุมผู้เชี่ยวชาญในโครงการ “การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของวัคซีนนิวโมคอคคอลคอนจูเกต”

      เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553  นางสาววันทนีย์ กุลเพ็ง นักวิจัยหลัก พร้อมด้วยนักวิจัยร่วมในโครงการ “การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของวัคซีนนิวโมคอคคัสคอนจูเกต” จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กลุ่มโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, International Emerging Infectious Program, TUC, สมาคมผู้วิจัยและผลิตภัณฑ์ (PReMA), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) เข้าร่วมประชุมเพื่อกำหนดระเบียบงานวิจัยโครงการนี้ ณ ห้องประชุม HITAP

สำหรับโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการให้วัคซีนเทียบกับการไม่ให้วัคซีนในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และประเมินผลการทบด้านการคลัง (Budget impact analysis)

ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะในที่ประชุมนี้ว่า ผลลัพธ์ของวัคซีน ควรพิจารณาทั้งผลที่เกิดขึ้นทางตรงคือ ประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อ และผลลัพธ์ทางอ้อมโดยพิจารณา herd immunity ในการวิเคราะห์ผลลัพธ์ทั้งหมด  กรณี serotypes replacement  ซึ่งเคยมีรายงานในประเทศสหรัฐอเมริกาว่าสายพันธุ์19A เพิ่มขึ้นหลังจากมีการ ให้วัคซีนแบบ mass vaccination  แต่ทั้งนี้ในบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ อิสราเอล ซึ่งมีสายพันธุ์ 19A เกิดขึ้นก่อนมีการให้วัคซีน จึงระบุไม่ได้ว่าเป็นผลมาจาก mass vaccination เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิด serotypes replacement ในประเทศไทยหรือไม่ และ serotype ใดจะระบาดมาแทน serotype เดิมและจะส่งผลต่ออุบัติการณ์มากหรือน้อยเพียงใด ดังนั้น ในการศึกษานี้จึงไม่รวม serotypes replacement ในการวิเคราะห์ หรืออาจนำมาพิจารณาในการวิเคราะห์ความไม่แน่นอนของผลลัพธ์
ในเรื่องจำนวนครั้งของการให้วัคซีน มีความแตกต่างกันซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อมูลว่าหลายประเทศในยุโรปมีการให้วัคซีนแบบ 2+1 ครั้งสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกามีการให้วัคซีนแบบ 3+1 ครั้ง ซึ่งทางคณะผู้เชี่ยวชาญได้เสนอให้นักวิจัยทำการศึกษาการให้วัคซีนทั้ง 2 รูปแบบเพื่อเปรียบเทียบกัน

การศึกษาความคุ้มค่าของวัคซีนชนิดใหม่คือ PCV10 และ PCV13 เป็นที่น่าสนใจกว่า PCV7 ซึ่ง PReMA ให้ข้อมูลว่าทางบริษัทจะยกเลิกการจำหน่ายหากมีวัคซีนชนิดใหม่ในท้องตลาด ดังนั้น ผลการศึกษาวัคซีนชนิดใหม่จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากกว่าต่อผู้ตัดสินใจเชิงนโยบาย

ส่วนเรื่องการเปรียบเทียบระหว่างวัคซีนชนิด PCV และ pneumococcal polysaccharide vaccine (PPV) ผู้เชี่ยวชาญเสนอว่าไม่ควรเปรียบเทียบกัน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของ PPV คือ ผู้สูงอายุ แต่ PCV ให้แก่เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยเสนอให้ทำการศึกษาประชากรกลุ่มย่อย (sub-group analysis) ในกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยง คือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ และผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ซึ่งเหมาะสมกับบริบทประเทศไทย
สำหรับแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ Markov ที่จำลองการเกิดโรค ควรเพิ่มโอกาสการติดเชื้อช้ำในแบบจำลอง แม้ว่ายังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน และควรพิจารณา co-infection เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือดและแพร่กระจายไปสู่ปอด ทั้งนี้ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าในเด็กกลุ่มเสี่ยงมีโอกาสเกิดการติดเชื้อซ้ำแตกต่างกันกับเด็กทั่วๆ ไปหรือไม่

ที่ประชุมเห็นพ้องว่าควรมีการเก็บข้อมูลค่าอรรถประโยชน์ในประชากรไทยที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมากกว่าใช้ข้อมูลจากต่างประเทศ  ในงานวิจัยที่ผ่านมาการวัดค่าอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวีในประชากรไทย พบว่าค่าอรรถประโยชน์ที่ได้ต่างกับค่าที่ได้ของต่างประเทศ นอกจากนี้ ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะให้วัดค่าอรรถประโยชน์ในกลุ่มเด็กที่อายุสูงขึ้น เช่น 10 ปี และใช้ค่านั้นแทนกลุ่มเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งสมมติว่าไม่แตกต่างกัน โดยใช้เครื่องมือ Visual Analogue Scale งานวิจัยทางเศรษฐศาสตรในต่างประเทศได้ใช้เทคนิคนี้วัดค่าอรรถประโยชน์ในกลุ่มอายุอื่น ซึ่งน่าจะดีกว่าการวัดค่าอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยโดยการสัมภาษณ์ proxy แต่สิ่งที่อาจจะเป็นปัญหาคือ จำนวนผู้ป่วย เนื่องจากกลุ่มที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็กและผู้สูงอายุ นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีข้อเสนอให้นักวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วย

30 มีนาคม 2553

Next post > นักวิจัย HITAP นำเสนองานวิจัย ในการประชุม HPV Forum ครั้งที่ 2

< Previous post ขยายเวลาการสมัครทุนสนับสนุนการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ ISPOR Asia Pacific 2010

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด