logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
การประชุม “การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลมาตรการให้ความรู้เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย”

การประชุม
“การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลมาตรการให้ความรู้เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย”

       เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2553 น.ส.เชิญขวัญ ภุชฌงค์ พร้อมด้วยนักวิจัยในโครงการ “การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลมาตรการให้ความรู้เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย” จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมพิจารณาโครงร่างงานวิจัย ข้อเสนอแนะของผู้ทบทวนภายนอก รวมทั้งนำเสนอผลการทบทวนมาตรการในต่างประเทศ ณ ห้องประชุม HITAP

ในการนี้ผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมประชุมประกอบด้วย นพ.ทวี ตั้งเสรี จากโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์, นพ.ปัตตพงษ์ เกษสมบูรณ์ จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ทพ.ศิริเกียรติ เหลียวกอบกิจ, รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ จาก สสส., นพ.อภิชัย มงคล จากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, รศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนพ.ปราการ ถมยางกูร จากราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

สำหรับโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลมาตรการให้ความรู้ผ่านสื่อมวลชนเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ส่วนวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อทบทวนมาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายในต่างประเทศ เพื่อพัฒนามาตรการสื่อสารในการให้ความรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนก่อนฆ่าตัวตายและวิธีปฏิบัติหลังพบผู้มีสัญญาณเตือนก่อนการฆ่าตัวตาย และเพื่อประเมินประสิทธิผลของมาตรการให้ความรู้ผ่านสื่อมวลชน โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การทบทวนมาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายในต่างประเทศ ในประเด็นเรื่องกิจกรรมและประเภทสื่อที่ใช้ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และการประเมินผลโครงการ ส่วนที่ 2 จะเป็นการพัฒนาและประเมินผล โดยจะประเมินด้านผลกระทบ อัตราการฆ่าตัวตาย และอัตรการพยายามฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นในไทย

ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอกับโครงการวิจัยเรื่องนี้ว่า งานวิจัยชิ้นนี้ควรดำเนินการเสร็จสิ้นที่กระบวนการ Public Application เพื่อให้เห็นแนวโน้ม ซึ่งระยะเวลาควรอยู่ที่ประมาณ 1 ปี, ประเด็นการประเมิน outcome จะมีเรื่องกรให้ความรู้กับประชาชน ในประเด็นเรื่อง, การเข้าถึงสื่อว่ามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด และมีการพบหรือไม่, นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้เสนอเรื่องพื้นที่ที่จะลงเก็บข้อมูลได้แก่ ภาคเหนือตอนบน เช่น จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน ภาคตะวันออก เช่น จ.ระยอง จ.ชลบุรี

22 มีนาคม 2553

Next post > Journal Club ประจำเดือนมีนาคม

< Previous post นำเสนอโครงร่างงานวิจัยแก่คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ (วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553)

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด