logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
เข้าร่วมประชุม ISPOR 12th Annual European Congress ในฐานะผู้ได้รับรางวัล ISPOR International Fellowship Award

เข้าร่วมประชุม ISPOR 12th Annual European Congress ในฐานะผู้ได้รับรางวัล
ISPOR International Fellowship Award

เมื่อวันที่ 22-31 ตุลาคม 2552 ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ เดินทางไปร่วมงานประชุม ISPOR 12th Annual European Congress ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในฐานะผู้ได้รับรางวัล ISPOR International Fellowship Award

สำหรับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินความคุ้มค่าของการใช้ยาและเครื่องมือแพทย์กำลังได้รับความสนใจอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ อาจเนื่องจากสาเหตุสำคัญหลายประการได้แก่ การประสบความสำเร็จของหน่วยงานประเมินเทคโนโลยีของยักษ์ใหญ่ในยุโรป เช่น สวีเดน อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และเดนมาร์ค ทำให้เกือบทุกประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปจัดตั้งหน่วยงานในลักษณะใกล้เคียงกันซึ่งรวมถึง France’s la Haute Autorité de Santé (HAS) ในประเทศฝรั่งเศสและ Institute for Quality and Efficiency in Health Care (IQWiG) ในประเทศเยอรมันนี ประการที่สอง การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านสุขภาพครั้งสำคัญของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ภายใต้โครงการ Comparative Effectiveness Research (CER) ซึ่งจะลงทุนในการวิจัยและพัฒนาที่เน้นการประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพ และผลกระทบด้านต่าง ๆ ของเทคโนโลยีสุขภาพสำหรับใช้ในการกำหนดนโยบายและขยายความคุ้มครองให้แก่ประชาชนที่ยังไม่มีประกันสุขภาพ

ประเด็นที่สำคัญที่มีการพูดถึงในการประชุมครั้งนี้คือแนวคิดของการกำหนดราคาและข้อตกลงของยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์โดยอ้างอิงกับประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ในชีวิตจริง (Performance agreements) ตามแนวคิดดังกล่าว ราคาของยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ใหม่ที่นำเข้าสู่ตลาดจะถูกกำหนดขึ้นเป็นเบื้องต้น โดยอ้างอิงจากข้อมูลประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใหม่ที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น ข้อมูลจากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ก่อนขึ้นทะเบียน หลังจากนั้น (ภายในระยะเวลา 2-5 ปี) ระบบประกันสุขภาพจะมีการประเมินเพื่อติดตามประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้น โดยใช้ข้อมูลจากเวชปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง หากมีการพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าข้อมูลเบื้องต้น บริษัทผู้ผลิตจะได้รับประโยชน์ในรูปของค่าตอบแทนหรือการอนุญาตให้เพิ่มราคาจำหน่ายในอนาคต ในทางตรงกันข้าม หากเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่คาดไว้ บริษัทผู้ผลิตจะต้องรับผิดชอบโดยการจ่ายเงินทดแทนหรือลดราคาจำหน่ายลง

 

 

 

 

5 พฤศจิกายน 2552

Next post > Download! แบบเสนอหัวข้อวิจัย การจัดลำดับความสำคัญหัวข้อวิจัยสำหรับประเทศไทย

< Previous post HITAP จัดประชุมเพื่อกำหนดกรอบและคำถามการวิจัยโครงการ “การประเมินนโยบายบัญชียา จ ข้อย่อยสอง ของบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2551”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด