logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษามาตรการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผล”

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 ทีมนักวิจัย HITAP โดย ภญ.จิราพรรณ เรืองรอง ผู้รับผิดชอบโครงการวิจัย พร้อมด้วย ดร.ภญ.ศรีเพ็ญ  ตันติเวสส  ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ ผศ.ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว และ น.ส.รักมณี บุตรชน ในฐานะนักวิจัยร่วม จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษามาตรการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผล” โดยได้เรียนเชิญผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการควบคุมการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผล จากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โรงพยาบาลสระบุรี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลลำปาง และสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในเรื่องนี้

สำหรับการประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีประสบการณ์ร่วมให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมินการใช้ยาต้านจุลชีพ  ตลอดจนมาตรการอื่นๆ ที่ช่วยควบคุมหรือส่งเสริมการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพให้สมเหตุสมผลในระดับโรงพยาบาล  อุปสรรคและปัญหาที่พบ วิธีการแก้ไข และข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารในส่วนกลางเพื่อให้การสั่งใช้ยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้การสั่งใช้ยาต้านจุลชีพมีความสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้แทนจากโรงพยาบาลต่างๆ ได้เล่าถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในกระบวนการประเมินการใช้ยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล ประเด็นหลักๆ คือ การขาดความร่วมมือจากแพทย์ แพทย์มีความหลากหลายในการสั่งใช้ยา การขาดการทำงานร่วมกันเป็นทีม จำนวนเภสัชกรไม่เพียงพอที่จะดำเนินงาน การขาดความชัดเจนและการบังคับใช้ของมาตรการด้านประเมินการใช้ยา การขาดระบบติดตาม ประเมินผล หรือนำผลการประเมินไปใช้ของหน่วยงานส่วนกลาง  ผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะเรื่องการประเมินการใช้ยาต้านจุลชีพว่า อยากให้หน่วยงานส่วนกลางมีระบบติดตาม ประเมินผล หรือนำผลการประเมินการใช้ยาที่แต่ละโรงพยาบาลได้ส่งให้กับส่วนกลางไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจนและมีการบังคับใช้มาตรการ เพื่อให้ผู้บริหารของโรงพยาบาลเห็นความสำคัญ และกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจังในโรงพยาบาล

นอกจากนั้นควรกำหนดแนวทาง (guildline) การประเมินการใช้ยา (Drug Use Evaluation, DUE) จากส่วนกลางเพื่อให้มีรูปแบบเหมือนกัน แต่ทั้งนี้แต่ละโรงพยาบาลสามารถประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมกับบริบทของตนได้ และที่สำคัญนโยบายที่ส่วนกลางจะกำหนดขึ้นจะต้องทำให้กระบวนการทำงานของแพทย์และเภสัชกรที่มีอยู่นั้นง่ายขึ้นและไม่เป็นการเพิ่มภาระงาน

31 สิงหาคม 2552

Next post > การประเมินนโยบายการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย

< Previous post HITAP จัดประชุมนำเสนองานวิจัยเรื่อง “ความคุ้มค่าและผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ในระบบประกันสุขภาพสำหรับประเทศไทย”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด