logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมนำเสนองานวิจัยเรื่อง “ความคุ้มค่าและผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ในระบบประกันสุขภาพสำหรับประเทศไทย”

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552 ทีมนักวิจัย HITAP ประกอบด้วย ภญ.วชิรานี วงศ์ก้อม ในฐานะนักวิจัยหลัก พร้อมด้วย ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์,  ผศ.ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, ภญ.คัคนางค์ ไชยศิริ เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “ความคุ้มค่าและผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ในระบบประกันสุขภาพสำหรับประเทศไทย” ให้กับสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย(สวปก.) ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายภายใต้การกำกับของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่ให้การสนับสนุนทุนการวิจัยในเรื่องนี้ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานประกันสังคม, กรมบัญชีกลาง, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, สำนักงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และตัวแทนจากโรงพยาบาลต่างๆ เข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานวิจัยเรื่องนี้ โดยมี ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เป็นประธาน

สำหรับงานวิจัยในเรื่องนี้ดำเนินการขึ้นเพื่อประเมินความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการผ่าตัดผ่านกล้องในผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการและสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วยหน้า รวมทั้งศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงการผ่าตัดผ่านกล้องในโรคที่มีความสำคัญในประเทศ และที่มีความสำคัญ คือ โรคนิ่วในถุงน้ำดี

ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงการผ่าตัดผ่านกล้องในโรคที่มีความสำคัญ ได้แก่ กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับถงน้ำดีอักเสบ กลุ่มโรคทางสูตินารี คือ โรคเนื้องอกในมดลูก กับโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ และโรคไส้ติ่งอักเสบ

หลังจากการนำเสนอผลงานวิจัยที่ประชุมให้ข้อเสนอแนะว่า ผลจากการวิจัยเพื่อประเมินความคุ้มค่าของการผ่าตัดผ่านกล้องในโรคนิ่วในถุงน้ำดี หากรัฐบาลมีความเต็มใจที่จะจ่ายต่ำกว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งปีสุขภาวะที่สมบูรณ์ ในมุมมองของรัฐไม่มีความคุ้มค่าหากจะผลักดันให้เป็นนโยบาย แต่ในมุมมองทางสังคมจะมีความคุ้มค่า เพราะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในครัวเรือนได้ ดังนั้นผลงานวิจัยเรื่องนี้จึงชี้ชัดว่าควรมีการผลักดันเข้าสู่ระดับนโยบายเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน โดยเสนอข้อมูลเนื้อหาไปยังผู้บริหารระดับสูงที่สามารถผลักดันให้เป็นนโยบายได้นำไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

27 สิงหาคม 2552

Next post > HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษามาตรการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผล”

< Previous post HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญโครงการ “การประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบด้านภาระงบประมาณของการนำวัคซีนเอดส์ Prime-Boost มาใช้ในประชากรไทย”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด