logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
นักวิจัย HITAP นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาความคุ้มค่าของการใส่เลนส์นิ่มเมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์แข็งในการผ่าตัดต้อกระจกในบริบทของประเทศไทย”

เมื่อวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2552 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาความคุ้มค่าของการใส่เลนส์นิ่มเมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์แข็งในการผ่าตัดต้อกระจกในบริบทของประเทศไทย” โดย พญ.กัลยา ตีระวัฒนานนท์ นักวิจัย HITAP ในฐานะนักวิจัยหลัก พร้อมด้วย ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์, ผศ.ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, พญ.ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์, น.ส.รักมณี บุตรชน และ นายธีระ ศิริสมุด ในฐานะนักวิจัยร่วม ได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องดังกล่าวให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี ศ.ดร.อัมมาร  สยามวาลา  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้

หน่วยงานที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย ดร.สุรีรัตน์ งามเกียรติไพศาล จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  นพ.พงศธร  พอกเพิ่มดี  จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์  จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.นพ.พรชัย สิมะโรจน์ จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คุณพัณณ์อร ธรปณณะเศรษฐ์ จากสำนักงานประกันสังคม นางสุวิภา สุขวณิชนันท์,  นางวิริยา พูนคำ,  นางฉวีวรรณ วิริยะรัมภ์ จากกรมบัญชีกลาง นพ.สุชาติ สรณสถาพร จากสำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ คุณจริญญา สุขสนิท, คุณขนิษฐา ภูสีมุงคุณ จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นพ.วิวัฒน์ โกมลสุภาคย์ จากโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ และ นพ.สัมฤทธิ์  ศรีธำรงสวัสดิ์ จากสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย ร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะกับงานวิจัยเรื่องนี้

สำหรับงานวิจัยเรื่องนี้มีขึ้นเพื่อ ศึกษาการเข้าถึงการผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการและสิทธิหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงการผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการและสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเพื่อประเมินความคุ้มค่าของการผ่าตัดต้อกระจกโดยใส่เลนส์แข็งเปรียบเทียบกับเลนส์นิ่ม

จากการศึกษางานวิจัยนี้พบว่า การผ่าตัดต้อกระจกมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการผ่าตัดต้อกระจกในระดับจังหวัด คือ จำนวนจักษุแพทย์ และขนาดของจังหวัด  สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใส่เลนส์ที่สำคัญ คือระบบประกันสุขภาพผู้ป่วยระบบสวัสดิการข้าราชการมีโอกาสใส่เลนส์นิ่มมากกว่าผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าถึง 22 เท่า

สำหรับการทำผ่าตัดใน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลเอกชน และ โรงพยาบาลชุมชน เกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าโรงพยาบาลทั่วไป (รพ.ประจำจังหวัด) ซึ่งในส่วนของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอาจเกิดจากสาเหตุที่ต้องรักษาผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่มีภาวะผิดปกติและซับซ้อนอย่างอื่นร่วมด้วย มีแพทย์ประจำบ้านฝึกผ่าตัด และมีการลงข้อมูลที่สมบูรณ์ ส่วนในกรณีของโรงพยาบายเอกชน จากข้อมูลที่ได้เป็นผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า  ซึ่งอาจเกิดจากการเข้าร่วมในโครงการผ่าตัดต้อกระจกของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  จึงมีการผ่าตัดจำนวนมาก ทำให้มีปัญหาเรื่องภาวะแทรกซ้อนได้มาก ซึ่งอาจสะท้อนถึงคุณภาพของการผ่าตัดด้วย นอกจากนั้นผลการวิจัยพบว่าการใส่เลนส์นิ่มมีผลลัพธ์ทางสุขภาพดีกว่าเลนส์แข็งเล็กน้อย แต่ไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เมื่อเทียบกับเลนส์แข็ง

ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษา เห็นว่าควรมีการกระจายทุนฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุให้แก่จังหวัดที่ขาดแคลน  ในส่วนของ สปสช.ที่มีการเบิกจ่ายค่าเลนส์ได้ในราคาของเลนส์แข็งจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว เนื่องจากผลการวิจัยชี้ว่าเลนส์แข็งมีความคุ้มค่ากว่า นอกจากนั้นควรให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชนเกี่ยวกับเลนส์แข็งและเลนส์นิ่ม เนื่องจากอาจจะมีการจูงใจจากผู้ให้บริการให้จ่ายเงินเพิ่ม  และจากการสำรวจยังพบอีกว่า ราคาเลนส์ถูกกว่าราคาที่ สปสช. และกรมบัญชีกลางให้เบิกไว้ค่อนข้างมาก ในกรณีเลนส์แข็งราคาลดลงได้ถึง 4 เท่าตัว กรณีเลนส์นิ่มราคาลดลงได้เกือบครึ่งหนึ่ง

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากที่ประชุม  ควรศึกษาเพิ่มเติมเรื่อง ข้อมูลอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในเนื้อหารายงาน และข้อมูลการประเมินความคุ้มค่าระหว่างเลนส์นิ่มเทียบกับเลนส์แข็งเพื่อดูค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของเลนส์แข็งโดยใช้มุมมองทางสังคมร่วมด้วย และสุดท้ายนักวิจัยกล่าวว่า ผลการศึกษาจะไม่เกิดประโยชน์เลยถ้าไม่มีการนำไปผลักดันสู่นโยบาย

20 สิงหาคม 2552

Next post > HITAP จัดประชุมนำเสนองานวิจัยเรื่อง “ความคุ้มค่าและผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ในระบบประกันสุขภาพสำหรับประเทศไทย”

< Previous post HITAP จัดประชุมวิชาการ ISPOR THAILAND 2009 เมื่อวันที่ 13-14 สิงหาคม 2552

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด