“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

การประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำหนดคำถามการวิจัยและขอบเขตการวิจัย ในหัวข้อ
“การลาออกของแพทย์จากระบบบริการสุขภาพภาครัฐ:
ผลกระทบจากโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”
การให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีทักษะ แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยเข้ามา แต่บุคคลากรก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น แต่ปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ และการลาออกจากระบบราชการยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่รุนแรงมามากขึ้น
การขาดแคลนแพทย์อันเนื่องมาจากการลาออกถือได้ว่าเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน มีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยด้านบุคคลที่เกี่ยวกับครอบครัว คุณภาพชีวิต สภาพความเป็นอยู่ ความคาดหวังในหน้าที่การงาน ความพึงพอใจต่องานหรือภาระงาน ปัจจัยด้านสังคมสิ่งแวดล้อมที่แพทย์ปฎิบัติงานอยู่ และปัจจัยเชิงระบบทั้งที่เกิดขึ้นภายในโรงพยาบาลและภาพรวมของระบบสาธารณสุขที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการเลือกออกนอกพื้นที่หรือลาออกจากระบบราชการ
โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นอีกหนึ่งนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพของรัฐโดยไม่มีอุปสรรคเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งผลจากโครงการดังกล่าวพบว่าแพทย์มีชั่วโมงการปฏิบัติงานที่เพิ่มขึ้น และอีกหลายปัจจัยที่ทำให้แพทย์เกิดแรงกดดัน นำไปสู่การตัดสินใจลาออกจากพื้นที่หรือลาศึกษาต่อ หรือแม้กระทั่งลาออกจากราชการ
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ได้รับข้อเสนอจากหน่วยงานภายนอกให้ศึกษาผลกระทบจากโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ แต่จากการทบทวนวรรณกรรมที่กล่าวข้างต้นพบว่า มีงานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยที่เป็น สาเหตุของการคงอยู่และการลาออกของแพทย์ในประเทศไทยอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง ซึ่งชี้ว่าปัญหาดังกล่าวมีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่หลากหลาย
ดังนั้น HITAP จึงจัดการประชุมระดมสมองผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อ “การลาออกของแพทย์จากระบบบริการสุขภาพภาครัฐ: ผลกระทบจากโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2552ณ ห้องประชุม HITAP ชั้น 6 อาคาร 6 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังสถานการณ์ปัจจุบันของการวิจัยในประเด็นสภาพของปัญหาการขาดแคลนแพทย์ และปัจจัยที่เป็นตัวกำหนด หรือมีความสัมพันธ์กับการคงอยู่และการลาออกของแพทย์จากระบบบริการสุขภาพภาครัฐ ความจำเป็นต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อศึกษาผลกระทบจากโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การกำหนดคำถามการวิจัยและขอบเขตการวิจัย