logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

“ เสวนาวิชาการเพื่อวิเคราะห์ปัญหาการสื่อสารสาธารณสุขในประเทศไทย :
กลไกการสื่อสารสุขภาพ…ความจริง หรือ บิดเบือน ”



     ในปัจจุบันมีการใช้สื่อหลากหลายช่องทาง เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อกิจกรรม เพื่อประชาสัมพันธ์ยา วัคซีน และเครื่องมือวินิจฉัยโรคไปยังประชาชนโดยตรง ทั้งๆ ที่กฎหมายไม่อนุญาต จากงานวิจัยของ HITAP ในกรณีศึกษาของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ในช่วงปี 2550 พบว่าข้อมูลที่ปรากฏในสื่อจำนวนร้อยละ 62 มีเนื้อหาไม่ถูกต้อง และร้อยละ 92 มีเนื้อหาไม่ครบถ้วน ส่งผลให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก รวมถึงวิธีการป้องกัน และมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจฉีดวัคซีนมากขึ้น

     จะเห็นได้ว่า กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีของการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์สินค้าสุขภาพมีข้อบกพร่อง หากไม่ได้รับการแก้ไขจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อาจส่งผลเสียมากขึ้นในอนาคต เช่น เกิดความสิ้นเปลืองในทางเศรษฐกิจและปัญหาสุขภาพ จากการใช้ยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างไม่เหมาะสม

     ดังนั้นโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.)  จึงได้จัดการเสวนาวิชาการวิเคราะห์ปัญหาการสื่อสารสาธารณสุขในประเทศไทย : กลไกการสื่อสารสุขภาพ…ความจริง หรือ บิดเบือน ขึ้น เพื่อร่วมกันอภิปรายหาแนวทางการสื่อสารสุขภาพที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป ซึ่งการเสวนานี้จัดขึ้นในวันอังคารที่ 28 เมษายน 2552 เวลา 09.00 – 12.00 น.ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี โดยวิทยากรผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย

     1. รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
     2. ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
     3. คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 
     4. พญ.กิตติมา ยุทธวงศ์ ผู้แทนจากสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) 
     5. นพ.ไพศาล จันทรพิทักษ์ กรรมการสมาคมโรงพยาบาลเอกชน

27 เมษายน 2552

Next post > HITAP จัดประชุม Journal Club ประจำเดือนเม.ย. 52 ในหัวข้อ “การประเมินความคุ้มค่าของการจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์" และ “การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic  review)”

< Previous post นักวิจัยโครงการนำร่องการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบบูรณาการลงพื้นที่

Related Posts