logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

HITAP จับมือ อย.จัดประชุมเพื่อนำเสนอรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย


      เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษามาตรการการควบคุมราคายาในประเทศไทย” ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยภก.อดุลย์ โมฮารา นักวิจัย HITAP ได้นำเสนอบทวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการนำมาตรการควบคุมราคายาที่ใช้ได้ผลในต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทยจำนวน 4 มาตรการ ได้แก่

1. มาตรการควบคุมราคาโดยตรง
2. มาตรการทางภาษี
3. มาตรการอ้างอิงราคายาชนิดเดียวกันในต่างประเทศ
4. มาตรการอ้างอิงราคาตามความคุ้มค่าของประสิทธิผลการรักษา

     ทั้งนี้ นักวิจัยได้วิเคราะห์เชิงลึกถึงความเป็นไปได้ ซึ่งครอบคลุมทั้งทางด้านมาตรการทางกฎหมาย ด้านบริบทเชิงนโยบายสาธารณสุขและพาณิชย์ รวมถึงด้านสถานะทางธุรกิจของบริษัทยาข้ามชาติในประเทศ ซึ่งจากบทวิเคราะห์ดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน และได้ข้อสรุปร่วมกันว่า มาตรการที่มีความเป็นไปได้ และสามารถผลักดันให้เป็นจริงในทางปฏิบัติ คือ มาตรการอ้างอิงราคายาในต่างประเทศ และมาตรการการอ้างอิงราคาตามความคุ้มค่าของประสิทธิผลของการรักษา
นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดแผนการวิจัยในระยะต่อไป ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่

1.    นักวิจัยทำการประเมินมาตรการควบคุมราคายา ซึ่งจะนำเสนอให้เห็นถึงผลกระทบที่เป็นรูปธรรม โดยใช้กรณีศึกษายาเพื่อเปรียบเทียบผลกระทบด้านงบประมาณ ใน 4 สถานการณ์ ได้แก่
1.1  กรณีไม่ใช้มาตรการใด ๆ เลย
1.2  กรณีใช้มาตรการอ้างอิงราคายาในต่างประเทศ
1.3  กรณีใช้มาตรการการอ้างอิงราคาตามความคุ้มค่าของประสิทธิผลของการรักษา
1.4  กรณีที่ใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิบัตร ซึ่งเป็นมาตรการที่รัฐบาลนำมาใช้ในขณะนี้
2.    นักวิจัยทำการศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนานโยบายการนำมาตรการควบคุมราคายามาใช้จริงในทางปฏิบัติ รวมทั้งผลกระทบทั้งทางด้านบวก และด้านลบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งคาดว่าผลการศึกษาจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายการควบคุมราคายาของประเทศต่อไป

9 เมษายน 2552

Next post > นักวิจัยโครงการนำร่องการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบบูรณาการลงพื้นที่

< Previous post นักวิจัยในโครงการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก ลงพื้นที่

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด