logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

นักวิจัยในโครงการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก ลงพื้นที่


       นักวิจัย HITAP ผู้รับผิดชอบโครงการ “การประเมินความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของการใช้ยาต้านไวรัสสูตรยา 3 ตัวเป็นสูตรมาตรฐานของการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก” เตรียมลงพื้นที่เป็นครั้งที่ 2 ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จ.นครสวรรค์ ในวันที่ 7 เมษายน 2552  จ.สตูล ในวันที่ 23 เมษายน 2552  จ.สระแก้ว ในวันที่ 29 เมษายน 2552 เพื่อชี้แจงแนวทาง และขั้นตอนการดำเนินงาน รวมถึงการเก็บข้อมูล  ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการจริงในวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 พร้อมกับ อีก 1 จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ คือ จ.ศรีสะเกษ
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคน กระทรวงสาธารณสุข

       ที่มาของโครงการนี้ มาจากสถานการณ์ปัจจุบันที่นโยบายการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกในประเทศไทย ถูกดำเนินการเป็นนโยบายระดับชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดจำนวนเด็กแรกเกิดที่ติดเชื้อ โดยให้ยาสูตรยา 2 ตัว คือ AZT ในช่วงระหว่างคลอด ร่วมกับการให้ single dose nevirapine และจากรายงานของกรมอนามัยก็พบว่า การดำเนินงานดังกล่าวสามารถลดการถ่ายทอดจากร้อยละ 30 เหลือเพียงร้อยละ 5.8

       อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ามีการดื้อของเชื้อต่อยา nevirapine ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการดูแลรักษาหญิงหลังคลอด ในประเทศที่พัฒนาแล้วและมีทรัพยากรที่มากพอมีการให้ยาต้านไวรัสสูตรยา 3 ตัว ซึ่งสามารถลดการถ่ายทอดเชื้อเหลือน้อยกว่าร้อยละ 1-2 แต่ยายังมีราคาแพงและมีผลข้างเคียงอื่นๆ

       ดังนั้นเพื่อให้การพิจารณาสูตรยาที่จะใช้ในการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก โดยให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย  ซึ่งมีทรัพยากรจำกัด อีกทั้งในทางปฏิบัติอาจจะมีปัญหาอุปสรรคในการเปลี่ยนการดำเนินงานป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกจากการใช้สูตรยา 2 ตัว เป็นสูตรยา 3 ตัว จึงต้องทำการศึกษาความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของการใช้ยาต้านไวรัสสูตรยา 3 ตัว ในการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก โดยเลือกจังหวัดที่ไม่มีโครงการการให้ยาต้านไวรัสสูตรยา 3 ตัวมาก่อน มีผลการดำเนินงานการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกในลำดับต้นๆ และมีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการ

 





3 เมษายน 2552

Next post > HITAP จับมือ อย.จัดประชุมเพื่อนำเสนอรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย

< Previous post ประชุมนักวิจัยในโครงการประเมินศักยภาพของการเสนอบริการให้คำปรึกษา และตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีเป็นบริการพื้นฐานในโรงพยาบาลชุมชน ในประเทศไทย

Related Posts