logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
การประชุม “Collaborative Consultation meeting between MOPH  Thailand and WHO on the development  of an evidence based platform to assist countries  with  the  decision  making  on  introduction   of  new  vaccines.”

เมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2552 นักวิจัยของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ  หรือ HITAP เข้าร่วมการประชุม “Collaborative Consultation meeting between MOPH Thailand and WHO on the development  of an evidence based platform to assist countries  with  the  decision  making  on  introduction   of  new  vaccines.” ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ หรือ IHPP กระทรวงสาธารณสุข  ณ โรงแรมริชมอนด์  จ.นนทบุรี

การประชุมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้แทนหน่วยงานและสถาบันการศึกษาภายในประเทศและองค์กรระดับนานาชาติได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์และความคิดเห็นที่จะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยในการตัดสินใจนำวัคซีนชนิดใหม่เข้ามาใช้ ทั้งนี้ โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

ในช่วงเช้าของวันแรก เป็นการนำเสนอประสบการณ์ของไทยในการประเมินวัคซีนชนิดใหม่ภายใต้หัวข้อ “Thailand’s  Experience  with  assessing  the  need  for  introduction  of  new  vaccine : the case study of  HPV vaccine, Hib vaccine  and  influenza vaccine” ซึ่ง ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการ HITAP ได้นำเสนอผลการศึกษาด้านเภสัชเศรษฐศาสตร์ของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Human papillomavirus (HPV)  นอกจากนี้ ยังมีนักวิจัยไทยอีก 2 ท่าน ได้แก่ ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ และ ดร.พญ.จงกล เลิศเธียรดำรง  นักวิจัยอาวุโสของ IHPP นำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับ Hib vaccine และ influenza vaccine  ตามลำดับ ประสบการณ์การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนทั้ง 3 ชนิด ได้ชี้ให้เห็นถึงขีดความสามารถในปัจจุบันของประเทศไทยในการติดตามเฝ้าระวังโรค รวมทั้งการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย

 

16 มีนาคม 2552

Next post > การนำเสนอผลการประเมิน HITAP ต่อคณะกรรมการที่ปรึกษา

< Previous post ผลการศึกษาเรื่องการจำกัดการเข้าถึงและการหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด