“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งช่องปาก ทันตแพทย์และนักวิจัยร่วมกันปรับปรุงโครงร่างวิจัยวิจัยการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก เพื่อค้นหามาตรการที่เหมาะสมในระดับประเทศ
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2558 นักวิจัยจากแผนงานวิชาชีพทันตแพทย์เพื่อการดำเนินงานควบคุมยาสูบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย และ HITAP ในโครงการการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากร่วมกันนำเสนอโครงร่างของโครงการ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นเพื่อปรับปรุงและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โครงการดังกล่าวประกอบด้วยโครงการย่อย 2 โครงการ คือ การศึกษาความเป็นไปได้ของมาตรการตรวจคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากในชุมชน และการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการคัดกรองมะเร็งช่องปาก
การประชุมเริ่มด้วย ทพญ.ศิริเพ็ญ อรุณประพันธ์ นำเสนอเกี่ยวกับโครงการการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก ซึ่งมีเป้าหมายคือ เพื่อค้นหามาตรการคัดกรองมะเร็งช่องปากระดับประเทศ โดยให้ทันตแพทย์เข้ามามีบทบาทช่วยลดการเกิดโรคดังกล่าว โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ให้ทันตแพทย์ตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจหารอยโรคก่อนมะเร็ง เพื่อคัดกรองผู้ป่วยในระยะแรกเริ่มด้วยมาตรการที่เหมาะสม จากนั้นจึงส่งต่อเพื่อรักษาอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาจะนำไปพัฒนาเป็นมาตรการระดับชาติ
จากนั้น ทพญ.ศิริเพ็ญ อรุณประพันธ์ ได้นำเสนอต่อเกี่ยวกับโครงการย่อยที่ 1 การศึกษาความเป็นไปได้ของมาตรการตรวจคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากในชุมชน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของมาตรการคัดกรองมะเร็งช่องปากแบบลุกลาม ได้แก่ วิธีการคัดกรอง และช่วงอายุที่จะคัดกรอง และเพื่อหารูปแบบของมาตรการภายหลังการคัดกรองที่เหมาะสม ทั้งการดูแลโดยทันตแพทย์และการดูแลโดยแพทย์ โครงการนี้ดำเนินการโดย แผนงานวิชาชีพทันตแพทย์เพื่อการดำเนินงานควบคุมยาสูบ สสส. และสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
จากนั้น นางสาวชุติมา คำดี และนางสาววันทนีย์ กุลเพ็ง นักวิจัย HITAP ได้นำเสนอ โครงการย่อยที่ 2 การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการคัดกรองมะเร็งช่องปาก ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการคัดกรอง วินิจฉัยและรักษามะเร็งช่องปาก และเพื่อประเมินภาระงบประมาณของนโยบายการคัดกรองมะเร็งช่องปาก เพื่อนำไปใช้ในการพิจารณานโยบายระดับประเทศที่เหมาะสม ตลอดการประชุมผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการดำเนินงานวิจัยทั้งโครงการใหญ่และโครงการย่อย เช่น ระเบียบวิจัย แบบจำลองและการเก็บข้อมูล เพื่อให้นักวิจัยปรับให้เหมาะสมกับธรรมชาติการดำเนินไปของโรคมะเร็งช่องปาก
ติดตาม บันทึกการประชุมได้ที่ https://www.hitap.net/research/82424