logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP เตรียมประเมินต้นทุนต่อหน่วยและผลกระทบเชิงงบประมาณ หากรัฐจะสนับสนุนถ่านสำหรับเครื่องช่วยฟังของผู้พิการ

ปัจจุบันผู้พิการทางการได้ยินที่ได้รับการสนับสนุนเครื่องช่วยฟัง ต้องซื้อแบตเตอรี่สำหรับเครื่องช่วยฟังเอง เพราะตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนเครื่องช่วยฟังของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ผู้พิการไม่สามารถเบิกแบตเตอรี่ได้ อย่างไรก็ตามพบว่าแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังนั้นมีราคาแพง มีอายุการใช้งานสั้น ต้องเปลี่ยนบ่อย ส่งผลกระทบต่อผู้พิการ กลุ่มผู้พิการทางการได้ยินจึงเสนอให้ HITAP ทำวิจัยเพื่อประเมินเรื่องสนับสนุนแบตเตอรี่สำหรับเครื่องช่วยฟัง โดยเสนอผ่านโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2558 นายสุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล นักวิจัยหลักในโครงการนี้ จัดประชุมรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาโครงร่างวิจัยเรื่องสนับสนุนแบตเตอรี่สำหรับเครื่องช่วยฟังของคนพิการทางการได้ยิน ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยมีประเด็นพูดคุยสำคัญคือ การสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปัจจุบัน และการใช้เครื่องช่วยฟังของผู้พิการทางการได้ยิน ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายภาคส่วน เช่น ตัวแทน สปสช. ตัวแทนสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ตัวแทนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ภายหลังจากการประชุม คณะผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม สรุปขอบเขตการวิจัยว่างานวิจัยที่กำลังจะเกิดขึ้นว่าจะเป็นการประเมินระบบความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติหากจะมีการสนับสนุนแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง รวมทั้งประเมินต้นทุนต่อหน่วยและผลกระทบงบประมาณที่จะเกิดขึ้น เพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์และระบบบริการต่อไป

ทั้งนี้มีข้อแสนอจากผู้เชี่ยวชาญที่น่าสนใจว่าการทำวิจัยดังกล่าวควรประเมินระบบบริการภายหลังการได้รับเครื่องช่วยฟังครอบคลุมทั้งสามกองทุนสุขภาพ เนื่องจากจะทำให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายได้ง่ายกว่าการศึกษาเพียงแค่กองทุนหลักประสุขภาพแห่งชาติเพียงอย่างเดียวและควรศึกษาในประเด็นมากกว่าเรื่องการสนับสนุนแบตเตอรี่สำหรับเครื่องช่วยฟัง ผู้สนใจติดตามความคืบหน้าของโครงการวิจัยนี้ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ทางเว็บไซต์ www.hitap.net

9 เมษายน 2558

Next post > ประชุมพัฒนาข้อเสนอเกี่ยวกับระบบและโครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทยในอนาคต

< Previous post ยกย่องสถานภาพ'ไทย'ผู้นำสาธารณสุขนานาชาติ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด