logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: กรุงเทพธุรกิจ

ฉบับวันที่: 2 มีนาคม 2015

ยกย่องสถานภาพ’ไทย’ผู้นำสาธารณสุขนานาชาติ

      จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในแต่ ละปีจะมีการกำหนดประเด็นที่สำคัญด้านสุขภาพเป็นประเด็นหลัก ซึ่งได้รับความร่วมมือและสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภายในประเทศและหน่วยงานระหว่างประเทศ ได้แก่ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล องค์การอนามัยโลก (WHO) ธนาคารโลก (World Bank) โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) องค์การความร่วมมือ ระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) มูลนิธิ ร็อกกี้ เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation) องค์การไชน่าเมดิคัลบอร์ด (CMB) ชัตทัมเฮาส์ (Chatham House) สำหรับในปี 2558 ประเด็นหลักคือ “สุขภาพโลก หลังปี ค.ศ.2015 : เร่งรัดสู่ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ”(“Global Health Post 2015: Accelerating Equity”)
พิมพ์ภาวดี พหลโยธิน รองผู้อำนวยการ สำนักงานภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้มีแนวคิดริเริ่ม โครงการด้านสุขภาพกับประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมองถึง ปัญหาว่า จะทำอย่างไรให้ระบบประกันสุขภาพมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ คนยากจนได้เข้าถึงระบบสาธารณสุขอย่างเต็มรูปแบบ จากนั้นพบว่า การประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากนโยบายของภาครัฐเป็นการปรับระบบการรักษาพยาบาลให้กับ ประชาชนได้อย่างทั่วถึงมากที่สุด จึงเริ่มมอง หาประเทศที่มีแนวทางเดียวกัน กระทั่งพบว่า ประเทศไทยได้ทำโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำเร็จมาแล้วกว่า 10 ปี
“10 ปีที่แล้ว ยังไม่มีการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้ประชาชนที่ยากจนเข้าไม่ถึงการบริการด้านสาธารณสุขมากนัก ขณะเดียวกัน สมัยนั้นหลายหน่วยงานในระดับโลก ยังไม่มีความมั่นใจในประเทศไทยว่าจะสามารถ ผลักดันโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้านี้ ขึ้นมาเป็นนโยบายได้ แต่ประเทศไทยก็ยืนยันว่า ทำได้ และประเทศไทยก็ทำได้จริงๆ”
พิมพ์ภาวดี กล่าวต่อว่า หลังจากนั้น ทาง มูลนิธิฯ จึงมองเห็นว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำ ด้านสาธารณสุขนานาชาติ จึงเข้าร่วมทำงานกับ ประเทศไทย เพื่อที่จะเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ของประเทศไทยในการพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปยังประเทศ อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้สนับสนุนทุนให้แก่สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เพื่อจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติ Capacity Building on Universal Health Coverage หรือ CAP UHC
ในโอกาสครบรอบ 100 ปีที่มูลนิธิ ร็อกกี้เฟลเลอร์มาตั้งสำนักงานอยู่ในประเทศไทย พิมพ์ภาวดี ย้อนถึงความเป็นมา ว่า เมื่อ 100 ปีที่แล้ว จอห์น ดี ร็อกกี้เฟลเลอร์ ผู้ก่อตั้ง ในขณะนั้น เป็นมหาเศรษฐี ได้พบกับ เจ้าฟ้ามหิดลที่ฮาร์วาร์ด และเจ้าฟ้ามหิดลได้ทรง ชวนมูลนิธิฯ มาช่วยเหลือด้านสาธารณสุข จึงมี การตั้งสำนักงานขึ้นในปี พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1915) โดยบทบาทในช่วงแรกเป็นการสร้างพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ กระทั่งพัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ มูลนิธิฯ ได้ร่วมกับประเทศไทยเป็นภาคีในการผลักดันนโยบายระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปทั่วโลก
“หลังปี ค.ศ.2015 เราจะทำงานร่วมกัน ในเชิงนโยบาย โดยขณะนี้ได้ร่วมงานกับโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้าน สุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program หรือ HITAP) ของกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับเรื่อง ตัวยาและการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม”
พิมพ์ภาวดียังกล่าวอีกว่า ในอนาคต ทางมูลนิธิฯ จะยังมุ่งมั่นทำงานร่วมกับประเทศไทยในการสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบสาธารณสุข และสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้แก่ประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม เพราะเราได้สนับสนุนทุนการศึกษาในประเทศไทยมาโดยตลอด แต่ประเทศไทยได้ก้าวนำขึ้นไปอีกขั้นในหลายๆ ด้าน จึงมีแนวคิดในการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่ประเทศอื่น เพื่อส่งต่อมาเรียนรู้และศึกษาในประเทศไทย

2 มีนาคม 2558

Next post > HITAP เตรียมประเมินต้นทุนต่อหน่วยและผลกระทบเชิงงบประมาณ หากรัฐจะสนับสนุนถ่านสำหรับเครื่องช่วยฟังของผู้พิการ

< Previous post ร่าง พ.ร.ฎ. สถาบันพัฒนาระบบและประเมินเทคโนโลยีและนโยบายเพื่อสุขภาพ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด