โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program) หรือ HITAP (ไฮแทป) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 เป็นองค์กรวิจัย กึ่งอิสระ ภายใต้สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีพันธกิจหลัก คือ ศึกษาผลกระทบทั้งบวกและลบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพ และนำข้อมูลดังกล่าวไปนำเสนอเพื่อใช้ในการตัดสินใจด้านนโยบายของภาครัฐ เช่น คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานต่างๆ ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ HITAP ยังทำงานในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา โดยเน้นการเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพให้ประเทศเหล่านั้นสามารถทำประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพด้วยตนเอง
จุดมุ่งหมายสูงสุดในการดำเนินงานของ HITAP ได้แก่ การที่สังคมไทย ‘มี’ ‘เข้าถึง’ และ ‘ใช้’ เทคโนโลยีด้านสุขภาพที่เหมาะสม การที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าวได้นั้น จำเป็นต้องมีระบบ กระบวนการและหลักเกณฑ์สำหรับการประเมินเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสโดยใช้ระเบียบวิจัยที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล นอกจากนี้ ยังต้องมีการเผยแพร่ผลการประเมินไปสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งผู้กำหนดนโยบาย ผู้ประกอบวิชาชีพ/บุคลากรด้านสุขภาพ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้นำผลการประเมินไปใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลและหลักฐานที่ได้จากการประเมิน เช่น ประสิทธิผล ความปลอดภัย คุณภาพ ประสิทธิภาพและความจำเป็นของการมีและใช้เทคโนโลยีแต่ละชนิด ทั้งนี้ จะต้องมีการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินเพื่อสนับสนุนให้เกิดการคัดเลือก จัดหา และบริหารจัดการเทคโนโลยี รวมถึงการกำหนดนโยบายด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม
ลักษณะการจ้าง : พนักงานเต็มเวลา
ลักษณะงาน : งานวิชาการ งานวิจัย รายงานตรงต่อนักวิจัยอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายวิจัย
หน้าที่และความรับผิดชอบ :
- รับผิดชอบการพัฒนาโครงร่างข้อเสนองานวิจัยเพื่อเสนอต่อแหล่งทุน
- บริหารโครงการวิจัยให้สำเร็จลุล่วง มีคุณภาพ/ประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นไปตามเวลาและเงื่อนไขอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในข้อเสนอหรือข้อตกลงการปฏิบัติงาน
- มอบหมายงาน ให้คำปรึกษา/แนะนำแก่นักวิจัยและผู้ช่วยวิจัยในโครงการวิจัย ทั้งเรื่องการปฏิบัติงานด้านวิชาการและการบริหารจัดการโครงการวิจัย รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าของงานที่มอบหมาย และสนับสนุนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
- กำกับดูแลการใช้จ่ายเงินทุนวิจัยของโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส
- ประเมินความเสี่ยงและบริหารจัดการความเสี่ยง (risk assessment and management) จากปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อโครงการวิจัย
- กำหนดหัวข้อเพื่อร่างนิพนธ์ต้นฉบับสำหรับตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงมอบหมายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการร่างบทความและการบริหารจัดการบทความเพื่อพิมพ์ในวารสารวิชาการให้แก่ผู้ช่วยวิจัย
- ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักวิจัยและผู้ช่วยวิจัยในโครงการและให้คำแนะนำเพื่อพัฒนาศัยภาพตามความเหมาะสม
- เชื่อมโยงผลการวิจัยกับนโยบายและเผยแพร่ผลการวิจัยไปสู่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ
- งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าฝ่ายวิจัย
คุณสมบัติ :
- จบการศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกในสาขาการวิจัยระบบสุขภาพ นโยบายสุขภาพ นโยบายสาธารณะ เภสัชศาสตร์ การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สถิติศาสตร์ ระบาดวิทยา วิทยาศาสตร์สุขภาพ ประชากรศาสตร์ การวิจัยด้านสังคม หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- มีประสบการณ์ทำวิจัยด้านสุขภาพ นโยบายสุขภาพ นโยบายสาธารณะ เศรษฐศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
- สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ได้แก่ Microsoft Word, Excel, PowerPoint และ Internet Browser เพื่อสืบค้นข้อมูลได้เป็นอย่างดี
- มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ดี
- มีความรับผิดชอบสูง มีความเป็นผู้นำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อดทน มนุษยสัมพันธ์ดีและทำงานเป็นทีมได้ดี
- สามารถเดินทางไปปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัดได้
เอกสารประกอบการสมัคร :
- ใบสมัครงาน (ดาวน์โหลดที่นี่หรือที่ แถบ download)
- ประวัติส่วนบุคคล (resume)
- วุฒิการศึกษา
- ผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ (ถ้ามี)
- ใบรับรองการผ่านงาน (ถ้ามี)
- ผลงานที่ผ่านมา เช่น งานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ (ถ้ามี)
เงินเดือน : เป็นไปตามโครงสร้างองค์กร
สิทธิประโยชน์ :
- ประกันสังคมและสวัสดิการอื่น ๆ ตามข้อกำหนดของหน่วยงาน
- โอกาสในการเข้าร่วมประชุมและสัมมนาวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
- โอกาสในการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก
วิธีการพิจารณา :
- ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จะต้องเข้ารับการทดสอบทักษะพื้นฐานด้านการเขียนและความรู้พื้นฐานด้านสถิติ (ความรู้พื้นฐานด้านสถิติใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ไม่นำมาใช้ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน) และสอบสัมภาษณ์
- การสัมภาษณ์จะใช้วิธี competency-based interview ร่วมกับ strength-based interview
- การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะพิจารณาจากข้อมูลที่ผู้สมัครยื่นประกอบการสมัคร ได้แก่ ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ร่วมกับคะแนนที่ได้จากการสอบทักษะพื้นฐานด้านการเขียนและการสัมภาษณ์
นโยบายการรับเข้าทำงาน :
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ไม่มี นโยบายในการเรียกเก็บเงินค่าสมัคร
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพยึดถือหลักปฏิบัติเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ต้องได้รับการคุ้มครอง ดังนั้น การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานจึงไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โดยเฉพาะเหตุผลอันเนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ เพศสภาพ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองที่ไม่ขัดต่อจารีตประเพณีและศีลธรรมอันดีของสังคมไทย
วิธีการสมัคร : สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และยื่นใบสมัครงาน (กรอกครบถ้วนเช่นช่วงเงินเดือน ขั้นต่ำ-ที่คาดหวัง) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ส่งอีเมลได้ที่ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล อีเมล: [email protected] สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป