– การรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีเพียงอเลนโดรเนต (alendronate) รายการเดียว ซึ่งเป็นยาในกลุ่มบิสฟอสโฟเนต (bisphosphonate) ชนิดรับประทาน หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อ alendronate แพทย์จะยังคงให้รับประทานยาต่อไป เนื่องจากไม่มียาทางเลือกอื่น จึงเป็นที่มาของการศึกษาเพื่อขยายสิทธิในการรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาในกลุ่ม bisphosphonate ชนิดรับประทาน
– การประเมินความคุ้มค่าด้วยมุมมองทางสังคม พบว่า การให้ดีโนซูแมบ (denosumab) หรือ โซเลโดรเนต (zoledronate) สำหรับรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาในกลุ่ม bisphosphonate ชนิดรับประทาน ยังไม่คุ้มค่า ณ ความเต็มใจจ่ายที่ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ
– การให้ zoledronate 5 มิลลิกรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุก 1 ปี นาน 3 ปี เป็นทางเลือกที่มีโอกาสคุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากการลดราคายาให้เหลือ 730 บาทต่อโดส จะมีความคุ้มค่าสำหรับประเทศไทย