logo
Download ดาวน์โหลด 20 ครั้ง
เข้าชม 58 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

โรคติดเชื้อ Human Papillomavirus (HPV) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยและสามารถแพร่กระจายได้ง่ายเพียงการสัมผัสทางผิวหนัง (skin-to-skin contact) โดยการติดเชื้อดังกล่าวก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น หูดและมะเร็งที่อวัยวะสืบพันธุ์ รวมถึงมะเร็งปากมดลูกที่พบได้บ่อยในเพศหญิง

ประเทศไทยได้บรรจุวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ชนิดป้องกันเชื้อ 2 สายพันธุ์และ 4 สายพันธุ์เป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กหญิงที่อายุระหว่าง 11 – 12 ปี อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีวัคซีนที่มีประสิทธิผลในการป้องกันเชื้อได้ครอบคลุมเพิ่มขึ้นถึง 9 สายพันธุ์ โดยวัคซีนชนิดนี้ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในคนไทยร้อยละ 94 ของสายพันธุ์ทั้งหมดที่ก่อโรคมะเร็งในประเทศไทย แต่วัคซีนชนิดนี้ยังไม่ถูกใช้ในโปรแกรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนเนื่องจากยังมีราคาสูง

ดังนั้น สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (National Vaccine Institute: NVI) จึงมอบหมายโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program: HITAP) ให้ดำเนินการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ประเมินผลกระทบด้านงบประมาณ และจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนของวัคซีน 9 สายพันธุ์ ในบริบทประเทศไทย

โครงการนี้ คณะผู้วิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพได้ดำเนินงานวิจัยร่วมกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย Laval มหาวิทยาลัย London School of Hygiene & Tropical Medicine และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เพื่อใช้แบบจำลอง HPV-Advise LMIC ซึ่งเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematic Modelling) ทำนายผลลัพธ์ทางสุขภาพของการติดเชื้อ HPV ในประเทศไทย โดยแบบจำลองดังกล่าวคำนึงถึงปัจจัยพฤติกรรมทางเพศของประชากรซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งผ่านเชื้อ HPV รวมทั้งสามารถทำนายผลลัพธ์ทางสุขภาพจากการใช้มาตรการป้องกันมะเร็งปากมดลูก เช่น การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในประชากรเพศหญิงกลุ่มอายุต่าง ๆ การฉีดวัคซีน HPV ในประชากรเพศหญิงและชายที่ช่วงอายุต่าง ๆ ซึ่งจะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาประมาณต้นทุนและผลลัพธ์ที่เกิดจากการใช้มาตรการต่าง ๆ ต่อไป

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง