logo
Download ดาวน์โหลด 16 ครั้ง
เข้าชม 42 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

โรคไข้เลือดออก (dengue) เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทยและภูมิภาคเขตร้อนอื่น ๆ ทั่วโลก ปัญหาดังกล่าวรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากสภาวะโลกร้อน ทำให้ความชุก ช่วงเวลาในการระบาด และขอบเขตพื้นที่ที่มีการระบาดขยายเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีมาตราการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการแบบดั้งเดิม เช่น การควบคุมยุงลายและป้องกันยุงกัด มีประสิทธิภาพที่จำกัดและให้ผลลัพธ์ไม่ยังยืน ดังนั้น การฉีดวัคซีนไข้เลือดออกจึงถือเป็นทางเลือกใหม่ และอาจะเป็นทางเลอกที่สำคัญของประเทศชาติ ปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนไข้เลือดออก 2 ชนิดได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้แก่ Dengvaxia® (CYD-TDV) และ Qdenga® (TAK-003)ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามี ประสิทธิภาพในการลดอัตราการติดเชื้อและอัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาล แต่อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัย โลกแนะนำให้ใช้ Dengvaxia® สำหรับเด็กที่เคยได้รับเชื้อ (seropositive) มาก่อนเท่านั้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายใน การฉีดวัคซีนชนิดนี้สูงขึ้นเพราะต้องตรวจคัดกรองภูมิคุ้มกันก่อนได้รับวัคซีน วัคซีนดังกล่าวจึงได้รับความนิยมทั่ว โลกน้อยลง ในขณะเดียวกัน Qdenga® ถูกมองว่าเป็นตัวเลือกใหม่ที่ปลอดภัยกว่า ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำ ให้ใช้ Qdenga® ในพื้นที่ที่มีภาระโรคไข้เลือดออกสูง (high burden of dengue disease) และการแพร่กระจาย ของผู้ติดเชื้อสูง (high transmission intensity) นอกจากการฉีดวัคซีนไข้เลือดออก การศกึษานี้ยังประเมินผลกระทบของการใช้นวัตกรรมใหม่ในการควบคุม พาหะนำโรค ได้แก่ การปล่อยยุงลายที่ติดเชื้อแบคทีเรีย Wolbachia นวัตกรรมดังกล่าวกำลังนำมาปรับใช้ใน ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ทำการทดลองปล่อยยุงลาย ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย Wolbachia และพบว่าอุบัติการณ์ของการติดเชื้อไข้เลือดออกและการเข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 77 และ 86 ตามลำดับ)

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ การประเมินความคุ่มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของวัคซีนไข้เลือดออกที่มีอยู่ใน ประเทศไทยผ่านการวิเคราะห์ต้นทุน-อรรถประโยชน์โดยใช้แบบจำลองพลวัต (dynamic modelling) นอกจากนี้ การศึกษานี้ยังวิเคราะห์มาตรการการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมที่สุดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น กลุ่มอายุ เป้าหมาย และแนวทางสำหรับพื้นที่ที่มีภาระโรคไข้เลือดออกเดงกีสูง รวมถึง ผลกระทบของนวัตกรรม Wolbachia เช่นกัน การศึกษานี้ยังวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของการฉีดวัคซีนต่าง ๆ โดยข้อค้นพบ จากการศึกษาครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนการใช้การตัดสินใจเชิงนโยบายในประเทศไทย

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง