ตามที่เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนานโยบายการล้างไตภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 โดยมีหน้าที่
- พิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบ ด้านการแพพย์ เศรษฐกิจ สังคมและจริยธรรมที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย สถานพยาบาล และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ในระบบสุขภาพ
- ให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการพัฒนานโยบายล้างไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมตามสถานการณ์ และข้อเท็จจริงจากการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
- ให้ข้อเสนอแนะต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายล้างไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายใหม่ที่เกิดขึ้นในอนาคต
- ดำเนินการอื่น ๆ รวมทั้งการจัดตั้งคณะทำงานย่อย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนานโยบายการล้างไตภายใต้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ
- รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติภายในระยะเวลา 6 เดือน หลังจากเริ่มปฏิบัติงาน
คณะทำงานฯ และทีมเลขานุการซึ่งประกอบด้วย อายุรแพทย์โรคไต พยาบาลโรคไต ผู้ป่วยโรคไต ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและระบบสุขภาพ และนักวิจัยจากโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้ดำเนินการวิเคราะห์ฐานข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ทบทวนเอกสารและสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้ป่วย ทบทวนบทเรียนในระดับนานาชาติ และพัฒนาแบบจำลองเพื่อคาดการณ์ผลกระทบในอนาคต ทำให้ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รายละเอียดดังที่แสดงในเอกสารรายงานด้านล่างนี้
—–
บทความและเอกสารประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย และความสำคัญของการคงทางเลือกที่หลากหลายสำหรับผู้ป่วย
Policy Brief ฉบับที่ 187: เสียงจากการเปลี่ยนแปลง นโยบายบําบัดทดแทนไตปี 2565
Policy Brief ฉบับที่ 188: ทางออกผู้ป่วยไตไม่ได้มีแค่ฟอกเลือด: บทเรียนต่างประเทศเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการบําบัดทดแทนไต และรักษาแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง
Policy Brief Issue 191: Towards A Sustainable Kidney Replacement Therapy Program: Recommendations For Thailand’s 2022 Dialysis Reform
Policy Brief ฉบับที่ 192: นโยบายการบําบัดทดแทนไตใหม่ ปี 2565 มีผลกระทบต่อผู้ป่วยและระบบสุขภาพอย่างไร และใน 10 ปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น หากไม่มีการเปลี่ยนแปลง