logo
Download ดาวน์โหลด 37 ครั้ง
เข้าชม 660 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ประเทศไทยมีอัตราการผ่าตัดคลอดบุตรเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งสูงกว่าอัตราการผ่าตัดคลอดบุตรที่เหมาะสมที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ร้อยละ 15 การผ่าตัดคลอดบุตรโดยไม่มีเหตุจำเป็นทางการแพทย์อาจส่งผลเสียต่อมารดาและบุตรดังนี้

  • ผลเสียต่อมารดา: ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น การเสียเลือด การติดเชื้อ ภาวะรกเกาะตัวแน่น รวมถึงลดความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ผลเสียต่อบุตร: ภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจ รวมถึงผลกระทบต่อพัฒนาการในการเจริญเติบโตของทารก

นอกจากนี้ ยังมีความสูญเสียด้านงบประมาณและค่าเสียโอกาสในการปฏิบัติงานของบุคลากรในห้องผ่าตัดและการใช้ห้องผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินอื่น ๆ อีกด้วย

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) รัฐบาล และองค์กรสาธารณสุขในหลายประเทศจึงพยายามค้นหามาตรการเพื่อลดการผ่าตัดคลอดบุตรที่ไม่จำเป็น ประเทศไทยได้มีความพยายามทดลองใข้มาตราการหลายด้าน เพื่อลดการผ่าตัดคลอดบุตรที่ไม่จำเป็นแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ

เอกสารนี้จึงเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนอัตราการเบิกจ่ายเงินทรณีคลอดบุตรให้แก่โรงพยาบาล เพื่อแก้ไขปัญหาการผ่าตัดคลอดบุตรที่ไม่จำเป็น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการมีบุตรในประเทศไทย เนื่องจากการผ่าตัดคลอดบุตรเป็นความเสี่ยงทางการแพทย์และภาระทางเศรษฐกิจ สำหรับหญิงที่ต้องการมีบุตรหลายคน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง