การแพทย์ทางไกล หรือโทรเวชกรรม (telemedicine) คือการสื่อสารหรือส่งข้อมูลทางการแพทย์จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งผ่านวิธีการทางอิเล็กทรกนิกส์ เพื่อให้บริการทางการแพทย์ ได้แก่ การตรวจวินิจฉัย การรักษา การพยาบาล การป้องกันโรค การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ
โรงพยาบาลในประเทศไทยให้บริการทางการแพทย์ทางไกลผ่านหลากหลายช่องทาง ทั้งผ่านแอปพลิเคชันสำหรับการแพทย์ทางไกล แอปพลิเคชันไลน์ และผ่านการโทร
กลุ่มโรคที่ใช้บริการการแพทย์ทางไกลมากที่สุด คือกลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตลำฤติกรรม
การแพทย์ทางไกลสามารถใช้เพื่อให้บริการในผู้ป่วยกลุ่มอื่นได้ เช่น บริการฝึกฟังฝึกพูดในผู้ที่สูญเสียการได้ยิน บริการแจ้งผลการตรวจในผู้ที่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ฯลฯ
การให้บริการการแพทย์ทางไกลในประเทศไทยยังพบปัญหาและประเด็นท้าทายที่มาจากหลายปัจจัย เช่น ด้านบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านเทคโนโลยี หรือในด้านกระบวนการให้บริการก็ตาม ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาการแพทย์ทางไกลเป็นไปได้อย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนและคำนึงถึงปัจจัยในด้านต่างๆ ต่อไป