logo
Download ดาวน์โหลด 78 ครั้ง
เข้าชม 215 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ภาวะไตวายเป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิตซึ่งจำเป็นต้องมีการปลูกถ่ายไตหรือการล้างไตเพื่อให้รอดชีวิต ในปี 2019 มีการประมาณการว่าโรคไตวายเรื้อรัง (CKD) ได้คร่าชีวิตประชาชนทั่วโลกไปประมาณ 1.4 ล้านคน ค่าใช้จ่ายในการบำบัดทดแทนไตก็สูงเช่นกัน ทำให้ครัวเรือนต้องแบกรับค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงเป็นไปได้ว่าประเทศต่าง ๆ อาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC) ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนในการรักษาภาวะไตวาย 

การบำบัดทดแทนถูกบรรจุเข้าในชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของไทย ใน พ.ศ. 2551 โดยสนับสนุนให้ผู้ป่วยเลือกล้างไตทางช่องท้องเป็นทางเลือกแรก (peritoneal dialysis (PD)-first policy) โดยผู้ป่วยเลือกล้างไตด้วยวิธีฟอกเลือด (hemodialysis, HD) ได้ แต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง แต่ผู้ป่วยที่ไม่เหมาะจะใช้วิธี PD จะสามารถใช้วิธี HD ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินเอง 

นโยบายนี้ดำเนินการเป็นเวลาประมาณ 15 ปีจนถึง พ.ศ. 2565 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเป็นเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเลือกได้อิสระระหว่าง PD และ HD ตามต้องการโดยไม่มีความแตกต่างด้านค่าใช้จ่าย นโยบายนี้เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้ป่วยผู้ป่วยในการเลือกการบำบัดทดแทนไต แต่ก็เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายการเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลบ่อยครั้งขึ้น จึงมีแนวโน้มจะสร้างภาระให้กับระบบมากขึ้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายของ HD สูงกว่า PD อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทั้งหมดควรได้รับการประเมินเพิ่มเติม 

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจวิวัฒนาการของกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบำบัดทดแทนไตและบทเรียนที่อาจเป็นประโยชน์กับประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ทั้งในบริบทของประเทศไทยและบริบทระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลาง 

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง