การคัดเลือกหัวข้อสำหรับการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพในประเทศ:
กรณีศึกษาการมีส่วนร่วมโดยผู้กำหนดนโยบาย
ชนิดา เลิศพิทักศ์พงศ์*
มนทรัตน์ ถาวรเจริญทรัพย์*,**
นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร*
จอมขวัญ โยธาสมุทร*
กงกช สินธิติชัย*
อุษา ฉายเกล็ดแก้ว*,**
ศรีเพ็ญ ตันติเวสส*
กาญจนาถ อุดมสุข*
ยศ ตีระวัฒนานนท์*
* โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
** ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
รายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประสบการณ์และสังเครห์บทเรียนจากการคัดเลือกหัวข้อเทคโนดลยีและนโบายด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทยที่ได้รับการพัฒนาโดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ การคัดเลือกหัวข้อสำหรับการประเมินในครั้งนี้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตและผู้เข้าร่วมการคัดเลือก 2) การส่งแบบสอบถามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอหัวข้อที่ต้องการประเมิน 3) การจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกหัวข้อโดยทีมนักวิจัย 4) การจัดประชุมเพื่อคัดเลือกหัวข้อดดยตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ และการตัดสินผลการคัดเลือกและ 5) การจัดการประชุมภายในเพื่ออภิปรายจุดแข็ง จุดอ่อน และข้อสังเกตต่าง ๆ
ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการคัดเลือกหัวข้อมีจุดเด่นที่เป็นระบบ โปร่งใสและมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างไรก็ตาม วิธีการคัดเลือกยังมีข้อจำกัดด้านวิธีการให้คะแนนและเวลา ทั้งนี้บทเรียนที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปรับปรุงวิธีการคัดเลือกหัวข้อเทคโนโลยีด้านสุขภาให้มีความเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้ผลการประเมินมีแนวโน้มในการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายได้มากขึ้น
ในการคัดเลือกครั้งต่อไปควรลดหัวข้อที่เข้ารอบสุดท้ายเพื่อให้มีเวลานำเสนอและอภิปรายมากขึ้น ควรปรับปรุงวิธีการให้คะแนนเพื่อให้เกิดการยอมรับ ควรขยายกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสื่ออื่น ๆ และเผยแพร่หัวข้อที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายทั้งหมดสู่สาธารณะเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการประเมินจากหน่วยงานอื่น และเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจทำการประเมินเรื่องที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของประเทศ
คำสำคัญ: การประเมินเทคโนโลยี, นโยบายด้านสุขภาพ, การจัดลำดับความสำคัญด้านสุขภาพ, เทคโนโลยีทางการแพทย์