logo
Download ดาวน์โหลด 954 ครั้ง
เข้าชม 2138 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความคุ้มค่าของการผ่าตัดต้อกระจกโดยใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มเปรียบเทียบกับชนิดแข็ง

ในบริบทของประเทศไทย

 

กัลยา ตีระวัฒนานนท์*, ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์1, รักมณี, บุตรชน2, ปฤษฐพร กิ่งแก้ว2, อุษา ฉายเกล็ดแก้ว3, ยศ ตีระวัฒนานนท์2

*โรงพยาบาลสมุทรปราการ

1 สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

2โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ

3ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

บทคัดย่อ

ในโรคต้อกระจก เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดในประเทศไทย ปัจจุบันการผ่าตัดใส่เลนส์แก้วตาเทียมในโรคต้อกระจกที่มีข้อบ่งชี้เป็นการรักษาที่ได้ผลดี เลนส์แก้วตาเทียมมีหลากหลายชนิด โดยแบ่งได้เป็น 2 ชนิดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยคือ เลนส์แก้วตาเทียมชนิดแข็งพับไม่ได้และชนิดนิ่มพับได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มและเลนส์แก้วตาเทียมชนิดแข็งของผู้ป่วยในประเทศไทย โดยใช้แบบจำลอง decision tree ข้อมูลต่างๆ ได้จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) และการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) และการรวบรวมและวิเคราะห์ฐานข้อมูลผ่านการผ่าตัดต้อกระจกจากสำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ราคาเฉลี่ยของเลนส์แก้วตาเทียมชนิดแข็งและนิ่มได้จากการสำรวจจากบริษัทผู้จัดจำหน่ายเลนส์แก้วตาเทียมในประเทศไทยจำนวน 5 บริษัท

การศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีเดียวกันคือ การสลายต้อกระจกแบบเปิดแผลเล็ก (Phacoemulsification) พบว่า การผ่าตัดใส่เลนส์นิ่มมีต้นทุนเฉลี่ยสูงกว่าการผ่าตัดใส่เลนส์แข็งอยู่ประมาณ 2,681 บาท ค่าปีสุขภาวะที่ได้จากการผ่าตัดใส่เลนส์นิ่มมากกว่าการผ่าตัดใส่แข็ง 0.005 ปีสุขภาวะ และเมื่อพิจารณาค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental cost-effectiveness ratio, ICER) จากการผ่าตัดใส่เลนส์นิ่มเมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์แข็งมีค่า 507,127 บาทต่อปีสุขภาวะ ดังนั้นการผ่าตัดใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดแข็งมีความคุ้มค่ามากกว่าการผ่าตัดใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่ม เนื่องจากตามเกณฑ์การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของคณะอนุกรรมการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ละระบบบริการสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดไว้ว่ามาตรการด้านสุขภาพที่มีความคุ้มค่ามากควรมีการลงทุนด้านสุขภาพไม่เกินหนึ่งเท่าของรายได้ต่อหัวประชาชาติซึ่งมีค่าประมาณ 100,000 บาท

 

คำสำคัญ:  ต้อกระจก, การผ่าตัดใส่เลนส์แก้วตาเทียม, เลนส์แก้วตาเทียมชนิดแข็ง, เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่ม, ความคุ้มค่า, ต้นทุนอรรถประโยชน์

 

 

 

 

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง