logo
Download ดาวน์โหลด 295 ครั้ง
เข้าชม 818 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

โครงการประเมินสถานการณ์ด้านนโยบายการป้องกันและควบคุมโรคเพื่อจัดตั้งศูนย์ควบคุมโรคติดต่อประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ โครงการวิจัย SEACID (Proposal to conduct a situational assessment on disease prevention and control for the establishment of a Southeast Asia Centre for Infectious Disease Control: SEACID) เป็นการศึกษาทางวิชาการโดยมีผู้ร่วมวิจัยหลักคือผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (Saw Swee Hock School of Public Health, National University of Singapore: NUS) และโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program: HITAP) โครงการวิจัยฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ประเทศไทย โดยจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อสร้างคำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงาน (operationalisation) ขององค์กรทางด้านสุขภาพในระดับภูมิภาค ซึ่งรวมไปถึงภูมิภาคอาเซียนด้วย ความคิดริเริ่มนี้เป็นความพยายามที่จะช่วยสนับสนุนการทำงานกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งมีความสำคัญต่อการอยู่รอด ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือการสังเคราะห์บทเรียนและประสบการณ์ในการดำเนินงานขององค์กรความร่วมมือทางด้านสุขภาพในระดับภูมิภาคที่มีอยู่แล้วหรือเคยจัดตั้งจากทั่วโลก โดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมแบบขอบเขต (scoping review) และประสบการณ์จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรด้านสุขภาพระดับภูมิภาคทั่วโลก ผลจากการศึกษา พบว่า มีปัจจัยมากมายที่สามารถช่วยหนุนการดำเนินงานของศูนย์ความร่วมมือทางด้านสาธารณสุขในระดับภูมิภาค แต่หลัก ๆ คือ การมีธรรมาภิบาลที่เข้มแข็ง การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงสร้างความร่วมมือจากภายนอกองค์กร เป็นต้น การจะมีศูนย์ความร่วมมือควบคุมโรคติดต่อระดับภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพได้ จะต้องอาศัยการมีความเข้าใจและเห็นประโยชน์ร่วมกัน ความเชื่อใจในการแบ่งปันข้อมูล และทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อก่อให้เกิดการบูรณาการทุกประเทศสมาชิกภายในองค์กร ส่งเสริมความรู้สึกการเป็นเจ้าของร่วม เพิ่มขีดความสามารถของแรงงานผ่านการฝึกอบรมและการแลกเปลี่ยนความรู้ และการสื่อสารที่ชัดเจน ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องคำนึงสำหรับการบริหารงานขององค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค คือ ความอ่อนไหวทางการเมืองในแต่ละพื้นที่ สามารถก่อให้เกิดความซับซ้อนในเรื่องต่าง ๆ เช่น การแบ่งปันข้อมูล และการดำเนินโครงการทางสาธารณสุขที่ต้องอาศัยการทำงานข้ามพรมแดน ดังนั้นการดำเนินงานของศูนย์ความร่วมมือดังกล่าวจึงควรจะให้ความสำคัญกับการสนับสนุนและทำงานร่วมกันกับองค์กรในระดับท้องถิ่น มากกว่าการเข้าไปกำกับแทรกแซงเพื่อเป็นผู้ไปกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้กับประเทศสมาชิก การเพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ทั้งภายในและระหว่างประเทศ และเพิ่มประสิทธิผลขององค์กร สิ่งนี้เหล่านี้จะช่วยทำให้เกิดวัฏจักร โดยที่ความสำเร็จจะเป็นตัวสร้างภาพลักษณ์และความมั่นใจให้กับองค์กร ซึ่งจะช่วยดึงดูดผู้สนับสนุนอื่น ๆ ให้มีแนวโน้มที่จะเข้ามาลงทุนทางการเงินกับองค์กรมากขึ้น ซึ่งปัจจัยทางการเงินนี้ถือว่ามีความสำคัญมากกับความยั่งยืนของการบริหารและดำเนินงานขององค์กร

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง