logo
Download ดาวน์โหลด 319 ครั้ง
เข้าชม 1266 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

– โรคกระดูกพรุนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด ‘กระดูกหัก’ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและหญิงวัยหมดประจำเดือน

– การศึกษาความชุกของโรคกระดูกพรุนในสตรีไทยอายุระหว่าง 40-80 ปี ในปี พ.ศ. 2544 จากการวัดค่าความหนาแน่นของกระดูกที่กระดูกคอสะโพก (femoral neck) และกระดูกสันหลัง (lumbar spine) พบว่ามีความชุกของโรคอยู่ที่ร้อยละ 13.6 และ 19.8 ตามลำดับ โดยความชุกของโรคกระดูกพรุนในสตรีไทยจะเพิ่มตามอายุที่มากขึ้น โดยมีโอกาสเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ในช่วงอายุ 70 ปีขึ้นไป

– การ ‘ตรวจความหนาแน่นมวลกระดูกและการประเมินความเสี่ยงกระดูกหัก’ ช่วยให้ผู้ป่วยกระดูกพรุนหรือผู้ที่มีความเสี่ยงจะเกิดกระดูกหัก เข้าถึงการรักษาและลดโอกาสในการเกิดกระดูกหักในอนาคตได้

– การใช้ FRAX® ประเมินความเสี่ยงกระดูกหัก แล้วให้กลุ่มที่มีความเสี่ยงตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกด้วย dual energy X-ray absorptiometry (DXA) ในกลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยตรวจทุก 5 ปี จะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง