สถานการณ์ระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพ เมื่อวัดโดยอัตราการเพิ่มขึ้นของอัตราการเสียชีวิตภายใน 30 วัน (30-day mortality) และการกลับเข้านอนโรงพยาบาลภายใน 30 วัน (30-day unplanned readmission) ในช่วงสถานการณ์ระบาด COVID-19 อย่างมีนัยสำคัญ และขนาดผลกระทบมีความรุนแรงที่สุดใน wave ที่ 3 ของการระบาด กลุ่มโรคที่ควรได้รับการเฝ้าระวังได้แก่
- กลุ่มโรคทางสุขภาพจิต เช่น กลุ่มความผิดปกติทางจิต หรือพฤติกรรมที่เกิดจากสมองถูกทำลาย ความผิดปกติจากการเสพติดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (Bipolar) โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD)
- กลุ่มผู้โรคเรื้อรังในกลุ่ม Ambulatory care sensitive condition (ACSCs) ที่มีแนวโน้มได้นับผลกระทบจากคุณภาพการรักษา เช่น ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ Congestive heart failure ซึ่งได้รับผลกระทบจากทั้ง 3 waves ที่ทำการศึกษา
สถานการณ์ระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบต่อประชากรอย่างไม่เท่าเทียมกัน การออกแบบมาตรการเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ระบาดในอนาคตควรให้ความสำคัญกับกลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มอ่อนไหว ดังนี้
- ประชากรผู้สูงอายุ จากหลักฐานการมีโอกาสเสี่ยงในการเสียชีวิตหรือกลับเข้าโรงพยาบาลโดยไม่ได้วางแผนในอัตราที่สูง อย่างไรก็ตามกลุ่มประชากรวัยเด็กหรือวัยรุ่นมีแนวโน้มเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่มีโรคร่วม รวมถึงกลุ่มภาวะบกพร่องทางสุขภาพ
- กลุ่มผู้มีความด้อยโอกาสทางสังคมสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งควรมีมาตรการสนับสนุนการเข้าถึงบริการสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ
กลุ่มผู้ป่วยสุขภาพจิต โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยหรือมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย