logo
Download ดาวน์โหลด 807 ครั้ง
เข้าชม 1949 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

บทคัดย่อ

มะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทั้งที่มีบริการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาและรักษาความผิดปกติของเซลล์ในระยะเริ่มต้นมานานกว่า 40 ปี แต่อัตราการตรวจคัดกรองก็ยังต่ำมาก ตั้งแต่พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา รัฐบาลมีนโยบายลดปัญหาดังกล่าว โดยดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 75 จังหวัดด้วยวิธีแปปสเมียร์และวีไอเอ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในทุกภาครวม 12 จังหวัด ตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 ถึงเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งประกอบด้วย 1) การสำรวจปัจจัยด้านผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมาย จากหญิงอายุ 30-60 ปี จำนวน 4,640 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และ 2) การสำรวจปัจจัยด้านผู้ให้บริการและระบบบริการโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังผู้ให้บริการทั้งหมดจำนวน 3,526 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทางสถิติเชิงพรรณาและสถิติพหุโลจิสติกเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์

ผลการศึกษาในหญิงกลุ่มผู้รับบริการ (อัตราความร่วมมือ 97%) พบอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในช่วง พ.ศ. 2548-2552 เท่ากับร้อยละ 68 โดยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในพ.ศ. 2551-2552 ส่วนใหญ่ตรวจด้วยวิธีแปปสเมียร์ (88%) ส่วนที่ตรวจด้วยวิธีวีไอเอ (7%) ครึ่งหนึ่งไปตรวจคัดกรองที่สถานีอนามัย ปัจจัยส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการตรวจคัดกรอง ได้แก่ อายุระหว่าง 40-50 ปี อาศัยในเขตชนบท ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เคยตั้งครรภ์ ได้รับข้อมูลข่าวสารการตรวจคัดกรอง มีทัศนคติเชิงบวกต่อการรับข้อมูลจากสื่อสาธารณะและได้รับการกระตุ้นจากสมาชิกในครอบครัว ในขณะที่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิเสธการรับบริการ ได้แก่ การเป็นมุสลิม มีประวัติสูบบุหรี่ ความเข้าใจผิดว่าหลังตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติก็ไม่ต้องมาตรวจซ้ำอีก และเข้าใจผิดว่ามีการให้บริการตรวจคัดกรองเฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น

 

Link by http://pubnet.moph.go.th/journals/

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง