logo
Download ดาวน์โหลด 327 ครั้ง
เข้าชม 552 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส มีสาเหตุการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae (S. pneumoniae) การติดเชื้อดังกล่าวทำให้เกิดโรคเช่น หูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคที่มีความรุนแรงและแพร่กระจาย ได้แก่ ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) การติดเชื้อในกระแสเลือด (bacteremia) และปอดอักเสบ (pneumonia) ซึ่งเป็นสาเหตุให้พิการและเสียชีวิตได้ จากการศึกษาในประเทศไทยพบว่า กลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอุบัติการณ์การติดเชื้อ S. pneumoniae จำนวน 1,228 รายต่อประชากรเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีจำนวน 100,000 คน และพบการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 11 ของจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ติดเชื้อดังกล่าว ปัจจุบัน แนวทางการรักษาโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส คือการใช้ยาปฏิชีวนะ การเลือกยาปฏิชีวนะและระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่งการติดเชื้อและความไวของเชื้อต่อยา

ทั้งนี้ ความเจ็บป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อ IPD และการดื้อยาทำให้เกิดการรักษาที่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในระบบสุขภาพทั่วโลก ปัจจุบัน การติดเชื้อนิวโมคอคคัสสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ทั้งในกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมีประสิทธิศักย์ในการลดอุบัติการณ์การเกิด IPD วัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยมี 2 แบบ ได้แก่ Pneumococcal Conjugated Vaccine (PCV) และ Pneumococcal Polysaccharide Vaccine ประเทศไทยมีการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของวัคซีน PCV 2 การศึกษา ในปี 2013 การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของวัคซีน PCV10 และ PCV13 พบว่าวัคซีนดังกล่าวยังไม่มีความคุ้มค่าในบริบทประเทศ ต่อมาการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของวัคซีน PCV ในปี 2019 พบว่าวัคซีนดังกล่าวมีความคุ้มค่าในบริบทประเทศไทยในปี 2021 ด้วยเหตุนี้ คณะทำงานประสานผลฯ ภายใต้อนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ จึงมีมติมอบหมายผู้วิจัยในงานวิจัยปี 2013 คือ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ในการทบทวนและปรับพารามิเตอร์ให้เป็นปัจจุบัน โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์เดิม เพื่อจะประกอบการพิจารณานำ PCV เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง