logo
Download ดาวน์โหลด 716 ครั้ง
เข้าชม 1038 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

การวิเคราะห์ต้นทุนการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ในการประกอบการพิจารณางบเหมาจ่ายรายหัว และเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบต้นทุนการปฏิบัติงานที่แท้จริง ดังนั้นการวิเคราะห์ต้นทุนด้วยแนวคิดการอิงการปฏิบัติงานจริง (Empirical costing approach) จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามจากการศึกษานี้ยังมีข้อจำกัด เช่น การเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบงาน  การไม่ได้บันทึกจำนวนการให้บริการ และการนับผลผลิต วัสดุ และเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานใช้วิธีการประมาณการ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการคิดต้นทุนต่อการให้บริการรายกิจกรรมได้ ดังนั้นแม้การศึกษานี้จะเป็นการศึกษาโดยขยายพื้นที่ในเขตเมืองมากขึ้น แต่ยังพบปัญหาของขั้นตอนการเก็บข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการศึกษาก่อนหน้านี้ ประกอบกับต้นทุนที่ได้อาจขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ด้วย ดังนั้นการนำผลการศึกษานี้ไปใช้จำเป็นต้องคำนึงถึงข้อจำกัดเหล่านี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การศึกษาต้นทุนในครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น สปสช. ควรพัฒนาระบบบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้มีมาตรฐานทั้งการกำหนดให้มีการลงบันทึกข้อมูลผลผลิต เวลาในการทำงาน และขั้นตอนการปฏิบัติงานในแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน และควรศึกษาต้นทุนโดยใช้วิธีการศึกษาแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้าในพื้นที่นำร่องของสถานพยาบาลแต่ละระดับ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์ สำหรับการได้มาซึ่งต้นทุนที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง