ศรวณีย์ ทนุชิต1, ดนัย ชินคำ1, ณัฐธิดา มาลาทอง1*, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล2และ ศรีเพ็ญ ตันติเวสส2
บทคัดย่อ
การพลัดตกหกล้มเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สาคัญและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเพิ่มสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มวัยอื่น อุบัติการณ์ของการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มทั่วโลก จะเกิดขึ้นปีละ 1,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 3 คน แต่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็วและเหมาะสม จะสามารถช่วยลดความเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตลงได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทาข้อเสนอในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมสาหรับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้มในประเทศไทย โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1. การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2. การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (purposive sampling) ประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในส่วนกลาง ได้แก่ ผู้กาหนดนโยบาย (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) และผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ ได้แก่ สานักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล (รพ.สต.) สานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และมูลนิธิที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉิน รวมถึงผู้สูงอายุที่ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินและเข้ารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาล และ 3. การจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินสาหรับผู้สูงอายุ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับพื้นที่ ทั้งนี้ผลการศึกษาจากการทบทวนเอกสารทั้งในและต่างประเทศ ไม่พบว่ามีการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินสาหรับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้มโดยเฉพาะ แต่ให้ความสาคัญกับการนาเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออานวยความสะดวกในการขอความช่วยเหลือสาหรับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้มตามความเหมาะสม และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม พบว่า ประเทศไทยอาจไม่จาเป็นที่จะต้องมีการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินสาหรับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้มโดยเฉพาะ เนื่องจากระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในปัจจุบันมีการให้บริการครอบคลุมทุกกลุ่มอายุและทุกกลุ่มอาการแล้ว แต่ปัญหาที่สาคัญ คือ การขาดแคลนบุคลากรที่ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และบุคลากรยังขาดความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้ม ดังนั้น การศึกษานี้มีข้อเสนอในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมสาหรับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้มในประเทศไทยโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับเวชศาสตร์ฉุกเฉินสาหรับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้ม และสพฉ.
Full Text: https://www.tci-thaijo.org/index.php/jpr2r/article/view/136411/131577