ทรงยศ พิลาสันต์
อินทิรา ยมาภัย
สุธาสินี คำหลวง
ชุติมา คำดี
ธนพร บุษบาวไล
พิศพรรณ วีระยิ่งยง
ศิตาพร ยังคง
ศรีเพ็ญ ตันติเวสส
ยศ ตีระวัฒนานนท์
บทคัดย่อ:
โครงการจัดลำดับความสำคัญหัวข้อวิจัยด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัยด้านสุขภาพเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้ระบบสุขภาพไทยในอนาคตบรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว ได้แก่ การสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชน รวมทั้งช่วยให้การดำเนินนโยบายและมาตรการสาธารณะต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม “การเติมเต็มช่องว่างทางความรู้” นั้น ต้องการการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นวิจัยที่มีความชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานให้ทุนวิจัยได้ใช้เป็นกรอบในการจัดสรรทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและระบบสุขภาพไทยในอนาคต ผู้วิจัยในการศึกษานี้ใช้การทบทวนเอกสาร จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญและสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องตามประเด็นระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ในอีก 20 ปีข้างหน้า และจัดกลุ่มประเภทงานวิจัยที่ควรให้การสนับสนุน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) ประเด็นวิจัยด้านสุขภาพตามช่วงวัยของประชากร ได้แก่ วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยชรา (2) ประเด็นวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักของระบบสุขภาพ ได้แก่ ระบบบริการสุขภาพ กำลังคนด้านสุขภาพ ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ เทคโนโลยีด้านสุขภาพ การเงินการคลังด้านสุขภาพ และการอภิบาลระบบสุขภาพ และ (3) ประเด็นวิจัยเพื่อการส่งเสริมการรู้เท่าทันด้านสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพ โดยประเด็นวิจัยเหล่านี้มีความสอดคล้องกับทิศทางและนโยบายของหน่วยงานให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ควรมีการดำเนินการอย่างจริงจังในการผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและนำประเด็นวิจัยเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
Abstract:
The desirable goals and directions of the Thai health system are to promote health prevention and promotion for healthy Thai people. To achieve those goals, a number of innovations and new knowledge, mainly derived from quality research, need to be generated in order to fill the current gap of knowledge. Thus, a clear framework of potential research should be developed. This can help research funding agen-cies work transparently and effectively in granting research projects. This study presents a framework of potential research that should be supported in order to achieve the desirable goals of healthy Thais. With regard to each aspect of the goals, document and literature reviews were accumulated to collect background information on the current situation and gap in knowledge. Interviews and meetings with seven groups of experts were arranged to discuss and deliberate the potential research issues that should be supported in the future. The results were then analyzed and categorized into three categories: (1) health research issues by age groups – children, adolescent, adults, and elderly; (2) research issues in the health systems – health service delivery, health workforce, health information, health technologies, health financing, and health governance; and (3) research issues for promoting heath and health literacy. These issues and sub-issues are also related to the policies of many granting agencies in Thailand. It is important to raise the concerns of relevant agencies to determine the gap of knowledge that should be funded, then, there would be enough research generated to move toward the desirable goals.
Full Text: http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4558