logo
ไม่พบไฟล์สำหรับดาวน์โหลด

รายละเอียดเพิ่มเติม

อินทิรา ยมาภัย

สุธาสินี คำหลวง

ชุติมา คำดี

ศิตาพร ยังคง

ทรงยศ พิลาสันต์

พิศพรรณ วีระยิ่งยง

ศรีเพ็ญ ตันติเวสส

ยศ ตีระวัฒนานนท์

บทคัดย่อ:

ระบบสุขภาพของประเทศไทยในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นในการคาดการณ์อนาคตของประเทศเพื่อให้ทราบสถานการณ์สำคัญที่ต้องเผชิญในอนาคตและรับมือหรือใช้ประโยชน์จากปัจจัยเหล่านั้น การกำหนดเป้าหมายหรือภาพอนาคตของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ เนื่องจากจะนำมาซึ่งการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเอื้อประโยชน์สูงสุดต่อสังคม นักวิจัยใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมและจัดประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจำนวนรวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นทั้งผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงในระบบสุขภาพรวมทั้งสิ้น 121 คน เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบสุขภาพ ตลอดจนแนวโน้มของปัจจัยเหล่านั้นในอีก 20 ปีข้างหน้า ภาพอนาคตของระบบสุขภาพตามกระแส (ระบบสุขภาพที่ปล่อยให้เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน) และภาพอนาคตของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า อนาคตระบบสุขภาพตามกระแสเป็นระบบสุขภาพที่เน้นการตั้งรับ เน้นการรักษา ใช้ทรัพยากรบุคคลเป็นหลักและมีการรวมศูนย์ ในขณะที่ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์เป็นระบบสุขภาพที่เน้นการป้องกันและนำเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และส่งเสริมให้ชุมชนจัดการสุขภาพของตนเอง ตลอดจนคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการรู้เท่าทันด้านสุขภาพ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์นี้สามารถนำไปใช้ในการกำหนดทิศทางในการสนับสนุนงานวิจัยต่อไป

Abstract:

Thai health system is currently affected by constantly changing environmental factors. Forecasting the future of the country is essential for preparing the future health systems. Defining future preferable health systems is an important first step of country’s future health system developments, which later would deliver efficient resource allocation and maximize social utility. Literature review and expert consultation meetings were conducted. There were 18 meetings held with a total of 121 experts or well-known people to define what are the preferable health systems in 2033, compared with the status quo scenario. The status quo scenario is the passive health systems, focusing on treatment, using human resources and being centralized. While the preferable health systems would emphasize on health promotion, make high use of information technology and promote community to be able to manage and cope with health problems in own environment with high health literacy level. In conclusion, the preferable health systems can guide future directions or priorities to support future health research.

Full Text: http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4555?locale-attribute=th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ไม่พบไฟล์สำหรับการดูออนไลน์