logo
Download ดาวน์โหลด 1709 ครั้ง
เข้าชม 5322 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะแพร่กระจายที่ผ่าตัดได้เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์จากการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัด (adjuvant chemotherapy) อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งไม่ตอบสนองต่อยาสูตร 5-fluorouracil/leucovorin (5FULV) ซึ่งเป็นแนวทางรักษาในปัจจุบัน หากมีการบรรจุยาเพิ่มเติมในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือเพิ่มเงื่อนไขการใช้ยาในบัญชีฯ จะช่วยให้กลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวซึ่งอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิตมีทางเลือกในการรักษามากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัดและผลกระทบด้านงบประมาณในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะแพร่กระจายที่ผ่าตัดแล้วในประเทศไทย การศึกษานี้ประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ Markov ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะแพร่กระจายที่ผ่าตัดแล้ว วิเคราะห์ในมุมมองสังคม โดยกรอบระยะเวลาที่วิเคราะห์คือตลอดชีวิตผู้ป่วย ตัวเปรียบเทียบคือการรักษาด้วย 5FULV แล้วตามด้วยการรักษาประคับประคองหากผู้ป่วยมีการลุกลามของโรคซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติในปัจจุบัน คะแนนอรรถประโยชน์ที่ใช้ในแบบจำลองได้จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยด้วยแบบสอบถาม EQ-5D-3L ตัวแปรต้นทุนเป็นข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยหรือฐานข้อมูลราคายาจากภายในประเทศ ตัวแปรการเปลี่ยนสถานะสุขภาพ (ความน่าจะเป็นที่โรคจะลุกลาม ความน่าจะเป็นที่จะเสียชีวิต) ได้จากการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย (network meta-analysis) โดยสืบค้นข้อมูลจากงานวิจัยต่างประเทศ มูลค่าต้นทุนและผลลัพธ์ในอนาคตมีการปรับให้เป็นมูลค่าในปัจจุบัน (ปี 2557) โดยใช้อัตราปรับลดร้อยละ 3 การศึกษานี้วิเคราะห์ความไม่แน่นอนของผลการศึกษาด้วยวิธี one way sensitivity analysis และวิธี probabilistic sensitivity analysis การศึกษานี้วิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 ในมุมมองผู้ให้บริการ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง