logo

รหัสโครงการ

31-3-093-2558

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

-

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 5464 คน

วันที่เผยแพร่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 09:56

เกี่ยวกับโครงการ

มะเร็งช่องปากพบมากเป็นอับดับ 6 หรือคิดเป็นร้อยละ 4.8 ของมะเร็งที่พบในประเทศไทยทั้งหมด ส่วนใหญ่พบในเพศชาย (ร้อยละ 61) มากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 39) อายุตั้งแต่ 45 ปีเป็นต้นไป จากรายงานอุบัติการณ์มะเร็งของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2550-2552 โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า มีอุบัติการณ์มะเร็งช่องปาก 8.8 รายต่อแสนประชากร เป็นเพศชายและหญิง 4.9 และ 3.9 รายต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากอุบัติการณ์ข้างต้นและข้อมูลประชากรไทยในปี พ.ศ. 2556 ของกรมการปกครอง ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยมะเร็งช่องปากรายใหม่โดยประมาณ 5,700 รายทั่วประเทศ

มะเร็งช่องปากมีระยะก่อนการเกิดโรค (Precancer) ที่ค่อนข้างนาน เรียกว่า ระยะ Potentially Malignant Disorders (PMD) ก่อนพัฒนาเป็นมะเร็งช่องปาก (Cancer stage) ระยะที่ 1-4 ตามลำดับ ซึ่งระยะ PMD สามารถรักษาได้หายขาดหากได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง การคัดกรองมะเร็งช่องปากสามารถทำได้ง่ายโดยการตรวจด้วยสายตา (Visual inspection) และการตรวจเยื่อบุในช่องปากด้วยมือ (Palpation of oral mucosa) ของผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง (oral medicine specialist) ทันตแพทย์ ทันตภิบาลได้รับการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะหรือคัดกรองด้วยตัวเองจากโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องการคัดกรองมะเร็งช่องปากแก่ประชาชน วิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ การคัดกรองด้วยสายตา (ความไวและความจำเพาะ ร้อยละ 40-93 และ 50-99 ตามลำดับ) มีความง่ายในการคัดกรองจึงมีความเป็นไปได้ในการดำเนินการสูง

แม้ว่าการคัดกรองมะเร็งช่องปากจะสามารถทำได้ง่าย และมีหลักฐานด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และประสิทธิผล (cost-effectiveness) ในบริบทของต่างประเทศว่า การคัดกรองมะเร็งช่องปากด้วยสายตาโดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และสามารถลดอัตราการตายได้อย่างมีนัยสำคัญ ในประชากรที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ แต่ปัจจุบันพบว่า ประเทศไทยไม่มีมาตรการในการคัดกรองมะเร็งช่องปากที่เป็นระบบและชัดเจน ส่งผลให้มีผู้ป่วยเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่มาพบแพทย์ในระยะ PMD

ดังนั้นกองทันตะสาธารณะสุขจึงได้มีโครงการนำรองเพื่อศึกษาประสิทธิผลและความเป็นไปได้ในการคัดกรองมะเร็งช่องปากในบริบทของประเทศไทย พร้อมทั้งให้โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านเศษฐศาสตร์สาธารณสุข ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการการคัดกรองการมะเร็งช่องปากดังกล่าว เพราะฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ข้อมูลจากผู้ป่วยจริง เพื่อให้ผลการศึกษาที่ได้สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด โดยการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการการคัดกรองมะเร็งช่องปากในบริบทของประเทศไทยนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญประกอบการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบายด้านสุขภาพของประเทศ

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว