logo

รหัสโครงการ

67193058RM018L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

กำหนดโครงร่างวิจัย - 25%

จำนวนผู้เข้าชม: 410 คน

วันที่เผยแพร่ 16 กรกฎาคม 2567 05:09

เกี่ยวกับโครงการ

ทรัพยากรในระบบสุขภาพมีอยู่อย่างจำกัด (limited resource) ดังนั้น การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพหรือเกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรในระบบสุขภาพสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การลงทุนในมาตรการด้านสุขภาพใหม่ ๆ หรือการทดลองใช้นวัตกรรมทางสุขภาพใหม่ ๆ อีกวิธีการที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรในระบบสุขภาพได้ คือการค้นหาประเด็นการใช้ทรัพยากรที่อาจพัฒนาได้ เช่น การศึกษามาตรการที่อาจมีคุณค่าน้อย (Low-value care: LVC) โดย LVC คือ มาตรการทางสุขภาพที่ถูกนำมาใช้ทั้งที่ข้อมูลทางวิชาการบ่งชี้ว่าเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยน้อยมากหรือไม่มีเลย หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดโทษต่อผู้ป่วยสูงกว่าประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ หรือกว้างกว่านั้นคือ มาตรการทางสุขภาพที่ได้ประโยชน์ไม่เป็นสัดส่วนกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มาตรการที่เป็น LVC ไม่ได้หมายความว่า เป็นมาตรการที่ไม่มีประโยชน์และควรถูกถอนออกจากการเบิกจ่ายจากภาครัฐ เนื่องจากมาตรการทางสุขภาพทุกอย่างมีประโยชน์หากใช้อย่างเหมาะสม จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่ามีการประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกิดจากมาตรการที่อาจมีคุณค่าน้อย (LVC) ที่ ร้อยละ 20-30 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ดังนั้น การศึกษาการมีอยู่ของมาตรการ LVC ในบริบทประเทศไทยจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสุขภาพของไทยได้

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษามาตรการที่มีคุณค่าน้อยในบริบทของประเทศไทย ในฐานะประเด็นที่อาจเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบสุขภาพของไทยได้ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative methods) และเชิงคุณภาพ (Qualitative methods) เพื่อให้สามารถตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษา ประชากรของการศึกษานี้ คือ ประชากรไทยที่เบิกค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยผ่านสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Universal Coverage Scheme: UCS) จากฐานข้อมูลการเบิกจ่ายค่าชดเชยผู้ป่วย (e-Claim) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในช่วง 7 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2565

คณะผู้วิจัยจะทำงานร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อศึกษามาตรการที่มีคุณค่าน้อย โดยมีการจัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดทั้งโครงการเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและแนวทางเพื่อนำไปสู่การสรุปผลการศึกษาที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ คณะผู้วิจัยหวังว่าผลที่ได้จากการศึกษาจะมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากที่สุด ซึ่งผู้กำหนดนโยบายจะสามารถนำผลการศึกษานี้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการที่อาจมีคุณค่าน้อยภายใต้สิทธิหลักประกันสุขภาพ นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบดูแลสุขภาพของประชาชนได้ ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยหวังว่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้เพิ่มเติมในการนำทรัพยากรไปใช้ในบริการอื่นเพื่อแก้ปัญหามาตรการที่อาจมีคุณค่าน้อยต่อไปในอนาคต ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสาธารณชนผู้รับบริการในประเทศไทย