logo

รหัสโครงการ

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

กำหนดโครงร่างวิจัย - 35%

จำนวนผู้เข้าชม: 992 คน

วันที่เผยแพร่ 20 มิถุนายน 2566 05:43

เกี่ยวกับโครงการ

การระบาดใหญ่มีผลกระทบต่อชีวิตเราในหลายแง่มุมที่แตกต่างกัน โดยไม่เลือกภาคส่วนและขอบเขตทางภูมิศาสตร์ ดังนั้น การรับมือกับโรคระบาดจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวทั้งหมด โดยบูรณาการร่วมกับแนวทางและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวทั้งหมด โดยบูรณาการร่วมกับแนวทางและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง การสร้างแบบจำลองของโรคติดเชื้อ เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้เข้าใจผลกระทบของการระบาดใหญ่ เนื่องจากช่วยให้เข้าใจพลวัตของโรค, คาดการณ์ผลในอนาคต และช่วยให้จัดการกับโรคระบาดได้ดีขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า ความสามารถในการใช้แบบจำลองดังกล่าวเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับใช้ในการกำหนดนโยบาย เติบโตแบบก้าวกระโดดไปทั่วโลก การที่แบบจำลองนี้ มีบทบาทสำคัญในระหว่างที่เกิด COVID-19 ไปทั่วโลก ทำให้ผู้ที่ไม่ได้สร้างหรือใช้แบบจำลองแต่เดิม สนใจการสร้างแบบจำลองโรคติดเชื้อด้วย ส่งผลให้เราเข้าใจถึงขอบเขต, จุดแข็ง, ข้อจำกัด และ อุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของการใช้แบบจำลองโรคติดเชื้อได้ดีขึ้นในปัจจุบัน

วารสาร Lancet ถือว่าเป็นวารสารระดับนานาชาติ Lancet เป็นแหล่งความรู้ทางคลินิก สาธารณสุข และสุขภาพชั้นนำระดับโลก ซึ่งจัดอยู่ในอันดับหนึ่งในวารสารอายุรศาสตร์ทั่วไปและอายุรศาสตร์ทั้งหมดทั่วโลก โครงการที่เสนอมาที่นี้เป็นความร่วมมือกับ Lancet โดยตรง คณะเลขาธิการ ประกอบด้วยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore: NUS) จะทำงานกับหัวหน้าบรรณาธิการและทีมบรรณาธิกาของ Lancet อย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างคณะกรรมการ ด้วยกันรวมทั้งดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์

คณะกรรมการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Bill and Melinda Gates Foundation (BMGF) และ Access and Delivery Partnership (ADP) ซึ่งเป็นเจ้าภาพโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP)

รายชื่อคณะกรรมการ:

ประธาน

  1. Mark Jit, PhD
  2. รศ.ดร. วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย

คณะกรรมการ

  1. Edwine Barasa, PhD
  2. Alex R. Cook, PhD
  3. Zulma M. Cucunuba, MD, PhD
  4. Janan Dietrich, PhD
  5. Ruth R. Faden, PhD
  6. Gabriel M. Leung, MD, MPH
  7. Stephen Lim, PhD
  8. Marc Lipsitch, DPhil
  9. Rachel Lowe, PhD
  10. Jodie McVernon, MBBS, PhD
  11. Gautam Menon, PhD
  12. Juliet Pulliam, PhD
  13. ดร. นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์
  14. Erica Thompson, PhD
  15. Thumbi Mwangi, PhD

คณะเลขาธิการ

  1. Crystal Chua, BCom
  2. Hannah Clapham, PhD
  3. Saudamini Dabak, MA
  4. David Heymann, MD, DTM&H, CBE
  5. Sarin K C, MSc
  6. Jennifer Kealy, MPH
  7. Chris Mercado, RN, MPH, MSc
  8. ชญาพัช ราชาตัน
  9. Brandon Chua, PhD
  10. ภาณุพงศ์ เชาวนสวัสดิ์

กำหนดการประชุมคณะกรรมการมีดังนี้

----------

อ้างอิง

  1. Holmdahl, I. and C. Buckee, Wrong but Useful — What Covid-19 Epidemiologic Models Can and Cannot Tell Us. New England Journal of Medicine, 2020. 383(4): p. 303-305.
  2. James, L.P., et al., The Use and Misuse of Mathematical Modeling for Infectious Disease Policymaking: Lessons for the COVID-19 Pandemic. Med Decis Making, 2021. 41(4): p. 379-385.
  3. Teerawattananon, Y., et al., Recalibrating the notion of modelling for policymaking during pandemics. Epidemics, 2022. 38: p. 100552.
  4. Kretzschmar, M., Disease modeling for public health: added value, challenges, and institutional constraints. Journal of Public Health Policy, 2020. 41(1): p. 39-51.