logo
Download ดาวน์โหลด 211 ครั้ง
เข้าชม 799 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2) ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยืนยันผลแล้วจำนวน 2,067 ราย โดยผู้ที่เข้าเกณฑ์การเฝ้าระวังและสอบสวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Patient Under Investigation; PUI) กว่า 24,474 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การติดตามและการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคโควิด-19 เป็นหนึ่งในมาตรการที่เป็นความพยายามในการควบคุมและป้องกันโรคระบาด โดยเฉพาะโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ แนวทางในปัจจุบัน คือ มาตรการกักตัวด้วยตนเอง (self-quarantine) เป็นจำนวน 14 วัน อย่างไรก็ตาม การกักตัวบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ต้องการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เต็มอัตรากำลัง

ดังนั้น หากมีแนวทางประเมินความเสี่ยงสำหรับผู้สัมผัสที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข (HCWs contact) ที่จะสามารถใช้ปรับแนวทางในการกักกันบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสโรค COVID-19 ได้รวดเร็ว จะทำให้ HCWs contact สามารถกลับเข้าทำงานได้เร็วขึ้น จึงเกิดคำถามถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดจำนวนวันกักตัวสำหรับ HCWs contact จาก 14 วัน เป็นระยะเวลาที่ลดลงโดยคงความปลอดภัย มีโอกาสน้อยที่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง อัตราการตรวจพบ COVID-19 ในผู้สัมผัสที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขระหว่างถูกกักกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรการที่เหมาะสมในการกักตัว โดยพิจารณาจากสัดส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (asymptomatic infection) และระยะเวลาเฉลี่ยที่จะสามารถตรวจพบ SARS-CoV-2 ในผู้สัมผัส ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในแบบจำลองการดำเนินไปของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่โควิด-19 ในอนาคตได้อีกด้วย

 

ที่ปรึกษาโครงการ 
ดร. นพ. ยศ ตีระวัฒนานนท์ และ
ผศ. ดร.วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง