logo
Download ดาวน์โหลด 342 ครั้ง
เข้าชม 1573 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

– ความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลมีผลกระทบหลายระดับ

ㆍ ระดับบุคคล: ตัวผู้ป่วย (เช่น เกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้เจ็บป่วย ค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น ต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น และเกิดผลกระทบด้านจิตใจต่อผู้ป่วย เป็นต้น) บุคลากรของโรงพยาบาล (เช่น เกิดผลกระทบด้านจิตใจ อาจนำไปสู่การฟ้องร้อง/เสื่อมเสียชื่อเสียง ภาวะหมดไฟ หรือลาออก เป็นต้น) ครอบครัวของผู้ป่วย (เช่น ผลกระทบด้านจิตใจ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น)

ㆍ ระดับโรงพยาบาล: การสูญเสียทรัพยากร เช่น เพิ่มการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย บุคลากร ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น หรือเสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นต้น

ㆍ ระดับประเทศ: ส่งผลกระทบต่องบประมาณประเทศ และยังส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจในระบบบริการสาธารณสุขของประชาชนโดยทั่วไป

– ความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ และค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการป้องกันมักต่ำกว่าต้นทุนภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์และค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์

– สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. ได้ดำเนินยุทธศาสตร์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety) โดยโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนสามารถเข้าร่วมเครือข่ายเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพและความปลอดภัยสำหรับทุกคน รวมถึงป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ โดยมีระบบการรายงานและเรียนรู้อุบัติการณ์ความเสี่ยงทางคลินิกและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ประเทศไทย (National Reporting and Learning System: NRLS) เป็นฐานข้อมูลและระบบสนับสนุนแก่ทุกโรงพยาบาล

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง