logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
EE ครั้งที่ 17 เปิดเคสจริงสอน โดยทีมวิทยากร ดร. นพ.ยศ “ยาแพงแต่จำเป็น” “ปรับเพดานความคุ้มค่า”

การอบรม EE (Health economic evaluation) หรือชื่อเต็มว่า การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข ครั้งที่ 17 กำลังจะมาถึง การกลับมาครั้งนี้มาพร้อมกับประเด็นใหม่ที่ไม่เคยกล่าวถึงมาก่อน เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หนึ่งในประเด็นสำคัญ คือ ยาราคาแพงแต่จำเป็นซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเพดานความคุ้มค่าที่คงเดิมมาอย่างยาวนานถึงเวลาเปลี่ยนแล้วหรือยัง ? 

HITAP ชวนทุกคนมาเรียนรู้จาก ดร. นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ เลขาธิการและผู้ก่อตั้ง HITAP หนึ่งในทีมวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ ดร.นพ.ยศ อยู่ในทีมที่กำลังพัฒนากระบวนการและกลไกเพื่อรองรับยาราคาแพงที่จำเป็น และศึกษาเรื่องผลของการเปลี่ยนเพดานความคุ้มค่า และจะเล่าประสบการณ์ในการทำงานประเด็นเหล่านี้ให้ผู้เข้าอบรมฟัง ในการอบรม​ EE ครั้งที่ 17 นี้ 

ยาราคาแพงแต่จำเป็นมีมากขึ้น..แล้วจะทำอย่างไร? 

หลายคนคงรู้จักยาบัญชี จ(2) ซึ่งเป็นยาราคาแพงหรือยาที่มีผลกระทบงบประมาณสูง ที่ต้องแสดงข้อมูลความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ฯ ก่อนที่จะนำมาบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินเอง 

นับวันยาราคาแพงที่เข้าสู่ตลาดประเทศไทยจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และยาบางตัว มีความจำเป็น แต่ด้วยราคาที่แพงอาจจะส่งผลให้ไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ฯ 

ทำอย่างไรผู้ป่วยในประเทศไทยจะสามารถเข้าถึงยาราคาแพงเหล่านี้ได้ ? 

ในปีนี้ผู้เข้าอบรมฯ จะได้เรียนรู้กระบวนการวิจัย ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาราคาแพงในประเทศไทย โดยเฉพาะยาจำเป็นแต่ราคาแพงจนประเมินแล้วไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ หนทางเหล่านี้อาจกลายเป็นนโยบายใหม่ของระบบการเบิกจ่ายยาในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้

 

เพดานความคุ้มค่าของประเทศไทยถึงเวลาเปลี่ยนแล้วหรือยัง ? 

หลายคนคงทราบดีว่าประเทศไทยกำหนดเพดานความคุ้มค่าของเทคโนโลยีและมาตรการด้านสุขภาพครั้งแรกที่ 100,000 บาทต่อปีสุขภาวะในปี พ.. 2551 และมีการปรับเพิ่มเป็น 120,000 บาทต่อปีสุขภาวะในปี พ.. 2553 และ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะในปี พ..2556 ทำให้เกิดคำถามตลอดมาว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะต้องปรับเพดานความคุ้มค่าเพิ่มขึ้น 

ในปีนี้ผู้เข้าอบรมฯ จะได้เรียนรู้ จากงานวิจัย HITAP ที่ศึกษาผลกระทบของการปรับเพดานความคุ้มค่าที่ผ่านมาว่ามีผลต่อโอกาสของยาที่เสนอเข้าสู่บัญชี จ(2) จะมีความคุ้มค่าและเข้าบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือไม่ มีผลอย่างไร และการปรับเพดานความคุ้มค่ามีผลต่อประสิทธิภาพของระบบสุขภาพและงบประมาณด้านยาอย่างไร พร้อมคำถามสำคัญ ณ ตอนนี้ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องปรับเพดานความคุ้มค่าหรือยัง 

พบคำตอบได้ที่การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข ครั้งที่ 17 

ข้อสงสัยทั้งประเด็นยาราคาแพงและเพดานความคุ้มค่า สามารถหาคำตอบพร้อมวิธีที่จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจภาพรวมและหนทางที่เราจะร่วมแก้ปัญหาไปด้วยกันในการอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข ครั้งที่ 17 วันที่ 31 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2565 

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับการอบรมได้ที่นี่ https://www.hitap.net/184020 

สมัครอบรมได้ที่เว็บไซต์ https://sprw.io/stt-fe0d9a 

ราคาพิเศษ เฉพาะผู้สมัครรอบ Early Bird* 

หลักสูตรเบื้องต้น ราคา 6,500 บาท 

หลักสูตรเชิงปฏิบัติการ ราคา 13,000 บาท 

หลักสูตรเบื้องต้นและเชิงปฏิบัติการ ราคา 19,500 บาท 

*ปิดรับสมัครอบรมรอบ Early Bird ภายในวันที่ 31 .. 65 

21 สิงหาคม 2565

Next post > 29 ก.ย. 2565 วันหัวใจโลก รู้เท่าทัน ‘หัวใจ’ ก่อนเสี่ยงเสียชีวิตด้วยหัวใจขาดเลือด

< Previous post 3 สิทธิประโยชน์ควรรู้ของผู้พิการทางการได้ยิน...เพราะวันนึงเสียงที่คุณได้ยินอาจหายไป

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ