logo
Download ดาวน์โหลด 436 ครั้ง
เข้าชม 2056 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

  • สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพจิตประชากรไทย
  • การนอนโรงพยาบาลด้วยโรคทางจิตเวชโดยรวมมีแนมโน้ม “เพิ่มขึ้น” (เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกัน) ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยการนอนโรงพยาบาลที่ “สั้นลง” ทว่ามีแนวโน้มการนอนโรงพยาบาลด้วยอาการที่ “หนักขึ้น”
  • “มาตรการปิดเมือง” มีผลทำให้ผู้ป่วยสุขภาพจิตที่เป็น “ผู้ป่วยใน” ลดการใช้บริการสุขภาพลง แต่หลังจากนั้นก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญอีกครั้งในช่วงการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าในการระบาดระลอกที่ 3 (wave 3)
  • การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบทางสุขภาพกายและสุขภาพจิตต่อคนทั่วโลก ซึ่งเกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ มาตรการปิดเมือง รวมถึงภาวะหมดไฟ (burn out) มากไปกว่านั้น ยังมีรายงานถึงข้อกังวลจากการเกิดผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตในช่วงวิกฤตสาธารณสุข ที่ส่งผลต่อการเพิ่มอัตราการฆ่าตัวตายในกลุ่มประชากรเครียดสูง เสี่ยงซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตายในกลุ่มประชาชนทั่วไปถึงร้อยละ 14.5 16.8 และ 9.5 ตามลำดับ จากฐานข้อมูลกระทรวงสาธารสุข จำนวนผู้พยายามฆ่าตัวตายที่เข้ารับบริการสุขภาพจิตในปี 2563 และ 2564 มีจำนวนสูงถึงกว่า 2.4 หมื่นคนต่อไป
  • การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการใช้บริการสุขภาพในกลุ่มจิตเวชเมื่อเปรียบเทียมกับระยะเวลาอ้างอิงจะแตกต่างไปตามโรคเฉพาะ โดยในภาพรวมของการระบาดทั้ง 3 ระลอก พบการลดลงของการใช้บริการ ยกเว้นอัตราการนอนโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย
  • การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของการนอนโรงพยาบาลด้วยสาเหตุการฆ่าตัวตาย ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) และดรคซึมเศร้าเป็นสัญญาณที่สำคัญซึ่งสะท้อนถึงปัญหาสุขภาพจิตซึ่งอาจเป็นผลกระทบทางตรงที่เกิดจากมาตรการปิดเมือง หรือเป็นผลกระทบทางอ้อมที่เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวัง
  • ปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาที่ควรมีมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด เห็นได้จากแนวโน้มการนอนโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพบผลกระทบสูงสุดในระลอกที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงเวลที่ประชาชนอยู่กับวิกฤตการระบาดโควิด-19 มาเป็นระยะเวลานาน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง