logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
5 หัวข้อปัญหาน่าสนใจในการพิจารณาชุดสิทธิประโยชน์ 2565

การคัดเลือกชุดสิทธิประโยชน์ยังคงดำเนินการอยู่ต่อเนื่อง ในปีนี้ตัวแทนจากกลุ่มประชาชนและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ เสนอหัวข้อน่าสนใจมากมายที่จะช่วยพัฒนาสุขภาพชีวิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้หัวข้อเหล่านี้ช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพได้อย่างตรงจุด จึงต้องมีการคัดเลือกหัวข้อที่ควรได้รับความสำคัญสูง โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ให้คะแนนในด้านต่าง ๆ เช่น จำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ ความปลอดภัยตลอดจนถึงความเป็นธรรม วันนี้ HITAP เลือก 5 หัวข้อน่าสนใจที่มีการเสนอมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้ทุกท่านติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยหัวข้อเหล่านี้ผ่านการคัดเลือกและสรุปหัวข้อมาแล้วขั้นหนึ่ง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดทำข้อมูลเชิงวิชาการเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกหัวข้ออีกครั้งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์นี้

 

1 ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูปสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ผู้พิการที่ติดเตียงที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้ (ที่มีภาวะต้องพึ่งพาทางเศรษฐานะ)

ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูปเคยมีการพิจารณากันเมื่อนานมาแล้ว การเสนอขึ้นมาอีกครั้งมุ่งดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุติดเตียง ซึ่งแม้เดิมทีจะสามารถรับการสนับสนุนผ่านกองทุน Long Term Care (LTC) แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และยังมีข้อจำกัดที่ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ สิทธิประโยชน์นี้สามารถช่วยให้ผู้ป่วย คนพิการและผู้สูงอายุติดเตียงมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดภาระผู้ดูแลในการทำความสะอาดและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ มติที่ประชุมให้ความเห็นว่าควรมีการศึกษาใน 2 ประเด็นเพิ่มเติม ได้แก่ ประเด็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประเด็นผลกระทบต่อภาระงบประมาณ อาจประสานงานกับผู้ผลิตเพื่อนวัตกรรมที่ราคาถูกลงและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงได้

 

2 บริการตรวจสารพิษสารเคมีในเลือดและการตรวจสุขภาพประจำปีที่สอดคล้องกับความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพของแรงงานนอกระบบ (เน้นกลุ่มเกษตรกร)

หัวข้อปัญหานี้มาจาก 2 ข้อหัวปัญหาที่ได้รับการเสนอ ได้แก่ หัวข้อบริการตรวจสารพิษและสารเคมีในเลือด และหัวข้อการตรวจสุขภาพประจำปีที่สอดคล้องกับความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพของแรงงานนอกระบบ โดยที่ประชุมเสนอให้ปรับรวมหัวข้อปัญหาเพื่อแก้ปัญหาได้ครอบคลุมขึ้น โดยมุ่งแก้ปัญหาที่กลุ่มแรงงานนอกระบบจำเป็นจะต้องเผชิญกับสารพิษในการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น ในด้านการเกษตร หรืออาชีพขับรถรับจ้าง กระทั่งการก่อสร้าง โดยชุดสิทธิประโยชน์นี้คาดว่าจะช่วยป้องกันโรคและลดความรุนแรงเพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

3 การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดและการใช้เซลล์บำบัดในโรคทางกระจกตาและผิวดวงตา

นำเสนอหัวข้อปัญหาโดยราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ผ่านมาผู้ป่วยโรคกระจกตาบางคนมีภาวะพร่องเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) หากรักษาด้วยวิธีเดิมตาก็จะกลับมามัวอีก การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดและการใช้เซลล์บำบัดโรคทางกระจกตาและผิวดวงตาถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานแล้ว ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ ปัจจุบันการศึกษาวิจัยมีความพร้อมของบุคลากรในการคัดกรองและรักษาผู้ป่วยได้ แต่ยังไม่ได้บรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ของบัตรทอง

 

4 การเปลี่ยนลิ้นหัวใจพัลโมนารี โดยการสวนหัวใจ (Transcatheter pulmonary valve replacement)

การรักษานี้ช่วยในการทำซ้ำภายหลังผู้ป่วยได้ผ่าตัดครั้งแรกผ่านไปซึ่งการผ่าตัดด้วยการสวนหัวใจช่วยทดแทนการผ่าตัดได้ แม้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแต่ก็มีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่า ประกอบกับข้อมูลประสบการณ์การรักษาส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยมีฐานะยากจน ปัจจุบันมีบริการพร้อมในโรงพยาบาล 6 แห่ง การรักษานี้จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยมีรายได้น้อยได้เพราะค่ารักษาดังกล่าวมีราคาสูง มติการประชุมจึงให้เข้าสู่การจัดลำดับความสำคัญของหัวข้อปัญหาในวาระถัดไป

 

5 สิทธิประโยชน์การฟื้นฟูการเดินและการทรงตัวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลันที่ไม่สามารถ เดินได้ด้วยตนเอง (severe non-ambulatory subacute stroke patients) ด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดิน (Robotic Assisted Gait Training: RAGT) ชนิด end-effector stationary gait robots

หัวข้อปัญหานี้เสนอโดยราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย ที่ผ่านมาการใช้หุ่นยนต์ฝึกเดินสามารถเบิกได้โดยสิทธิราชการเพียงสิทธิ์เดียว ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาถูกจึงนำเสนอเพื่อให้ครอบคลุมสิทธิสุขภาพของคนไทยมากขึ้น การใช้หุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีระยะเกิดโรค 2 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 6 เดือน

ทำการฝึกเดินร่วมกับนักกายภาพบำบัดได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้สามารถกลับมาเดินได้ด้วยตัวเอง

 

หัวข้อปัญหาเหล่านี้จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคัดเลือกหัวข้อครั้งที่ 1 โดยคณะทำงานคัดเลือกหัวข้อฯ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ที่จะถึงนี้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เร็ว ๆ นี้

สำหรับผู้ที่สนใจการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ สามารถติดตามข่าวสารความรู้งานวิจัยรวมเสนอหัวข้อปัญหาได้ที่ http://ucbp.nhso.go.th/

23 กุมภาพันธ์ 2565

Next post > #รู้จักโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก IEM โรคหายากในทารกและเด็กเล็กที่อาจอยู่ใกล้ตัวคุณ

< Previous post ยารักษาโควิด-19 WHO แนะนำอะไร ? ใช้ในกลุ่มใดบ้าง (22 เมษายน 2565)

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ