logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
3 ข้อคิด “ควรรับหรือควรรอ” วัคซีน ?  จัดการอย่างไรต่อไปในสถานการณ์ปัจจุบัน

ควรรับวัคซีนหรือรอวัคซีนที่ต้องการ ? อาจเป็นคำถามที่หลายคนยังลังเลใจ จากสถานการณ์การระบาดที่รุนแรง การเสียชีวิตที่มีมากขึ้น แต่กระแสข่าวผลข้างเคียงของวัคซีนที่มีก็ทำให้ยากที่จะตัดสินใจว่า ควรเข้ารับวัคซีนโควิด-19 หรือไม่ ?

 

สถานการณ์ตอนนี้ “ฉีดดีกว่ารอ”

ทุกคนอยากปลอดภัยจากโควิด-19 แต่ด้วยข้อมูลที่มีการรายงานในปัจจุบัน ประชาชนจำนวนมากยังตัดสินใจไม่ได้ว่าควรฉีดตอนนี้หรือรอวัคซีนที่ตัวเองต้องการ HITAP แนะนำให้เข้ารับวัคซีนที่มีอยู่ก่อน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง (ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว) เพราะในสถานการณ์ตอนนี้ ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโควิด-19 มากกว่าการเสียชีวิตจากการรับวัคซีน

ทั้งนี้ หลักคิดในการเลือกรับการรักษาโดยทั่วไปคือการพิจารณาถึงความเสี่ยง ทุกการรักษามีความเสี่ยง มีผลข้างเคียง การรักษาที่เหมาะสมคือการรักษาที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าการไม่รักษา เป็นต้น ดังนั้นในสถานการณ์ตอนนี้การเข้ารับวัคซีนจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

ไทยควรทำอย่างไรกับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

หลายประเทศมีการยกเลิกการให้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเนื่องจากพบผลข้างเคียง ในส่วนของประเทศไทย สถานการณ์โควิด-19 กลับมารุนแรงขึ้น การยกเลิกวัคซีนที่กำลังจะเข้ามานี้จะทำให้ประชาชนเสียชีวิตจากโควิด-19 มากกว่าผลข้างเคียงจากวัคซีน ขณะเดียวกัน วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าก็ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยและประสิทธิผล จนได้รับการอนุมัติให้ใช้ในหลายประเทศเช่นกัน HITAP จึงเสนอว่ารัฐบาลไทยไม่ควรยกเลิกการใช้วัคซีนนี้

 

 

ไทยควรซื้อวัคซีนอื่นเพิ่ม

ตอนนี้ประเทศไทยได้มีการจองวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าไปแล้วเป็นจำนวนมาก (มีการจองซื้อแล้ว 65ล้านโดส) แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อที่จะให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ การจัดการวัคซีนต่อจากนี้ควรเป็นอย่างไร ? กรณีนี้ HITAP สนับสนุนให้ซื้อวัคซีนอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงอันจะเกิดจากผลของวัคซีนให้กับประเทศ เพราะข้อมูลวัคซีนหลายอย่างยังไม่ชัดเจน

10 พฤษภาคม 2564

Next post > คุณคิดอย่างไรกับการใช้ใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศของเรา?

< Previous post หน้ากากอนามัยใช้ซ้ำอย่างไรจึงปลอดภัย ?

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ