logo

รหัสโครงการ

01-311-2550

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

ภญ.พิศพรรณ วีระยิ่งยง

นักวิจัยร่วม

-

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

อยู่ระหว่างการทำวิจัย - 60%

จำนวนผู้เข้าชม: 2975 คน

วันที่เผยแพร่ 2 ธันวาคม 2554 13:32

เกี่ยวกับโครงการ

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรังก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ โรคตับแข็ง มะเร็งตับ และการปลูกถ่ายตับ ในปีพ.ศ. 2549 ในประเทศไทยพบผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ จำนวน 8,642 คน อัตราป่วย 13.8 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 13 คน คิดเป็นอัตราตายคิดเป็นร้อยละ 0.13 ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเกิดจากไวรัสตับอักเสบบี จำนวน 3,425 คน ไวรัสตับอักเสบบี จำนวน 734 คน แต่ส่วนใหญ่ 4,007 คน ไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากไวรัสตับอักเสบชนิดใด อัตราป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 5,207 คน คิดเป็น 60.25% สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1.5:1 พบว่ากลุ่มอายุ 45-54 ปี มีอัตราป่วยคิดเป็น 19.78% รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 55-64 ปี คิดเป็น 18.57% มีการรายงานผู้ป่วยรายใหม่ทุกเดือน และบางเดือนพบการรายงานผู้ป่วยสูงสุด 813 คน การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง จะส่งผลต่อสุขภาพทางร่างกาย ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งสำหรับระบบบริการสุขภาพ ตัวผู้ป่วย และทำให้เกิดการหยุดงาน การเสียชีวิต และคุณภาพชีวิตที่สูญเสียไป อุบัติการณ์การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรังในประเทศไทยเกิดจากไวรัสตับอักเสบบี 60-90% และไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ 12% ในการศึกษาความคุ้มค่าของการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เรื้อรังในต่างประเทศพบว่ามีความคุ้มค่าในการรักษา แต่อย่างไรก็ดีข้อมูลที่แตกต่างกันทางระบาดวิทยาของประเทศไทยกับต่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการศึกษาความคุ้มค่าในการรักษา ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ในประเด็นดังกล่าวสำหรับบริบทของประเทศไทย ขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาเรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซีในประเทศไทย ปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ยังไม่เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในอนาคตในการพิจารณาเบิกจ่ายยาภายใต้ระบบประกันสุขภาพของประเทศ