logo

รหัสโครงการ

63111002RM009L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

ภญ.จุฑามาศ พราวแจ้ง

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

อยู่ระหว่างการทำวิจัย - 38%

จำนวนผู้เข้าชม: 1841 คน

วันที่เผยแพร่ 2 มิถุนายน 2563 12:02

เกี่ยวกับโครงการ

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis หรือ RA) เป็นโรคข้ออักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic inflammatory arthritis) ที่มีการอักเสบเรื้อรังของเยื่อหุ้มข้อ (chronic synovitis) ร่วมกับการอักเสบของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและรวดเร็ว อาจก่อให้เกิดข้อผิดรูป (deformity) ทุพพลภาพ (functional disability) และเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ในปัจจุบันได้มีการวิจัยและพัฒนายากลุ่มชีววัตถุ (biologic DMARDs; bDMARDs) และยาสังเคราะห์มุ่งเป้า (targeted synthetic DMARDs; tsDMARDs) เช่น ยา etanercept, infliximab, golimumab, tocilizumab, rituximabหรือ tofacitinib ในการรักษาผู้ป่วย rheumatoid arthritis โดยยาเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการลดอาการของโรค โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ที่มีภาวะการอักเสบมาก  (high disease activity)  โดยช่วยให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะโรคสงบได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับยากลุ่ม DMARDs แบบดั้งเดิม (csDMARDs) เพียงอย่างเดียว ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยากลุ่ม bDMARDs และ tsDMARDs เป็นยาที่มีราคาแพงและยังไม่ได้รับการบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณของยากลุ่ม bDMARDs และ tsDMARDs สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ที่มีภาวะการอักเสบมาก  (high disease activity) เพื่อใช้เป็นข้อมูลให้แก่คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกยากลุ่ม bDMARDs และ tsDMARDs สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดที่มีภาวะการอักเสบมาก เข้าไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ