บริการ RRTTPR ประกอบด้วย
2) การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประชากรหลัก (Test-T)
4) การทำให้กลุ่มประชากรหลักมีพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (Prevent-P) ทั้งให้บริการป้องกันการติดเชื้อก่อนการสัมผัสโดยการให้ยา PrEP (Pre-exposure prophylaxis) และการป้องกันการติดเชื้อหลังการสัมผัสโดยการให้ยา PEP (Post-exposure prophylaxis) และ
5) ทำให้กลุ่มประชากรหลักคงอยู่ในระบบบริการ (Retain-R)
โดยเน้นการให้บริการในกลุ่มประชากรหลัก ได้แก่ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (men who have sex with men - MSM), พนักงานบริการชายและหญิง (male and female sex worker - MSW and FSW) หญิงข้ามเพศ (transgender women - TGW) ผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีด (People who inject drug: PWID)
ปัจจุบันองค์กรชุมชน (Community-based organizations - CBOs) ในประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ตามกรอบการทำงาน RRTTPR ซึ่งองค์กรเหล่านี้สามารถเข้าถึงและดำเนินงานกับกลุ่มประชากรหลักเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายองค์กรชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อดำเนินงาน RRTTPR โดยสามารถแบ่งรูปแบบการดำเนินงานตามส่วนร่วมขององค์กรชุมชน 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ รูปแบบที่ 1 การให้บริการ RRTTPR ในสถานบริการภาครัฐ (Government facility‑based health services) รูปแบบที่ 2 การดำเนินการร่วมกันระหว่างสถานบริการภาครัฐและองค์กรชุมชน (Government hospital-led health services with reach and recruit led by CBOs) และรูปแบบที่ 3 การให้บริการ RRTTPR ที่มีชุมชนเป็นผู้นำในการขับเคลื่อน (Key population‑led health services (KPLHS) in collaboration with government hospitals)
ที่ผ่านมาในอดีตองค์กรชุมชนได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานจากแหล่งทุนต่างประเทศ ต่อมาในปีงบประมาณ 2560 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้สนับสนุนการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ตามกรอบการทำงาน RRTTPR โดยใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินการให้มีการเข้าถึงและนำประชากรกลุ่มเสี่ยงให้เข้ารับบริการ การขยายบริการเชิงรุก การดำเนินการให้ผู้ติดเชื้อรับการรักษาต่อเนื่องตามแผนการรักษา และดำเนินการให้ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อยังคงภาวะไม่ติดเชื้อ การตรวจการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ร่วมกับการตรวจเชื้อเอชไอวี และถุงยางอนามัยสำหรับใช้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณต่อปีเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้กำหนดนโยบายนำไปใช้เพื่อการวางแผนด้านการเงินและการคลังของการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มประชากรหลักตามกรอบการทำงาน RRTTPR เพื่อให้ระบบสุขภาพมีความยั่งยืนและสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายการการยุติปัญหาเอดส์ได้ในอนาคต