logo

รหัสโครงการ

201-344-2553

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

-

นักวิจัยร่วม

วรรณภา เล็กอุทัย

ธีระ ศิริสมุด

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 2865 คน

วันที่เผยแพร่ 9 ธันวาคม 2554 11:52

เกี่ยวกับโครงการ

บริการการแพทย์ฉุกเฉินมีความสำคัญต่อระบบบริการสุขภาพที่ต้องการความเร่งด่วนในการให้ความคุ้มครองผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการป่วยกะทันหันที่มีอันตรายถึงชีวิต ถึงแม้ว่าบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย เริ่มจากมูลนิธิของภาคเอกชน ต่อมาหน่วยงานภาครัฐได้เข้ามามีบทบาท เน้นการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล จนกระทั่งได้มีการจัดตั้งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ตาม พ.ร.บ. การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 มีกองทุนการแพทย์ฉุกเฉินเป็น
งบประมาณสนับสนุนการประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมให้ อปท. เข้ามามีบทบาทในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรในการจัดให้มี “ระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากลที่ทุกคนเข้าถึงอย่างเท่าเทียม” โดยมีชุดปฏิบัติการฉุกเฉินจำนวนมาก เพื่อขยายบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศแต่อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน มาตรฐานของอุปกรณ์เครื่องมือ บุคลากรในชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน ตลอดจนยังขาดข้อมูลการประเมินตามวัตถุประสงค์ของการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินในการบริหารจัดการของ สพฉ. เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยผลงานการศึกษาวิจัยในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายและเกิดการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในภาพรวมได้ ที่ผ่านมามีงานวิจัยบางส่วนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในระดับท้องถิ่น และ สพฉ. เองก็พยายามกำหนดคำถามวิจัยเพื่อหาทีมงานมาดำเนินงานวิจัย และรอผลที่จะได้จากงานวิจัยเพื่อนำไปใช้ แต่การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยสู่การกำหนดนโยบายแห่งชาติหน้าที่และศักยภาพขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ สพฉ. จึงควรมีหน่วยวิจัยของตัวเอง เป็นผู้นำในการสร้างงานวิจัยใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายขององค์กร ไม่ควรเป็นเพียงผู้ใช้ผลงานวิจัยเท่านั้น ผู้บริหารองค์กรจะต้องเป็นผู้ติดตาม ผลักดันงานวิจัยที่ต้องการให้เกิดขึ้นและนำไปใช้ได้จริงจากโจทย์งานวิจัยที่มีมากมาย สพฉ. ไม่สามารถดำเนินการได้เองทั้งหมด คณะผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะต่อ สพฉ. ดังต่อไปนี้ 1) สพฉ. ควรพิจารณาจัดลำดับผลงานวิจัยที่สามารถจะนำมาใช้ได้ในเชิงนโยบาย หรือควรศึกษาเพิ่มเติมโดยมีการระดมสมองของผู้ที่ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินทั้งภาคภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อให้ได้ประเด็นสำคัญที่ควรทำวิจัย 2) กำหนดเป้าหมายในช่วง 3 ปี/5 ปี ว่าต้องการงานวิจัยประเภทใดเพื่อมาสนับสนุนการดำเนินงานของ สพฉ. 3) เพิ่มศักยภาพขององค์กรในการทำวิจัยให้มีความสามารถในการทำวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และ 4) ต้องอาศัยความเป็นผู้นำของ สพฉ. สร้างงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามแผนยุทธศาสตร์ และสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการวิจัยร่วมกัน

เอกสารเพิ่มเติม

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว