logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อพิจารณาโครงร่างวิจัย เรื่อง “ประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของนโยบายควบคุมการบริโภคโซเดียม”

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 ทีมวิจัย HITAP จัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อรับฟังและให้ข้อคิดเห็นต่อ โครงร่างวิจัย เรื่อง “การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของนโยบายควบคุมการบริโภคโซเดียม” โดยตัวแทนที่เข้าร่วมประชุมมาจากหลายภาคส่วน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, กรมสรรพสามิต, สภาอุตหกรรมแห่งประเทศไทย, มหาวิทยาลัยหอการค้า, องค์การอนามัยโลก, สมาคมผู้บริโภคอาหารสำเร็จรูป, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและบริษัทผู้ผลิตอาหาร ซึ่งข้อคิดเห็นที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ ทีมวิจัยจะนำไปพัฒนากรอบการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ประชาชนบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน (หรือ เกลือ 5 กรัมต่อวัน) แต่ปัจจุบันพบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมโดยเฉลี่ยมากเป็น 2 เท่า (4.3 กรัมต่อวัน) ของปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน  การบริโภคโซเดียมหรือเกลือมากเกินไปมีส่วนทำให้เกิดโรคมากมาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต เป็นต้น ซึ่งภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 2 ของการเสียชีวิตในคนไทย ดังนั้น มาตรการควบคุมการบริโภคเกลือจึงนโยบายสำคัญที่จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเหล่านี้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนและผลลัพธ์ของการดำเนินมาตรการต่างๆ ในการควบคุมการบริโภคเกลือ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องในอนาคต

2 สิงหาคม 2562

Next post > HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อรายงานผลการศึกษาระบบการให้บริการ การให้คำปรึกษาฉันเพื่อนโดยองค์กรคนพิการ

< Previous post HITAP จัดอบรม “วิเคราะห์ต้นทุนทางการแพทย์” ครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วมเผยมีประโยชน์ ใช้ได้จริง ทุกคนควรเข้าร่วม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด